งานระบบไฟฟ้า Electrical
1. ขอบเขตของงาน
1.1 ผู้รับจ้างต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ แรงงานที่มีฝีมือและความชำนาญ และมีระบบควบ
คุมคุณภาพที่ดี ในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนงานชั่วคราว เพื่อให้งานติดตั้งระบบไฟฟ้า
แล้วเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานได้ตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง
1.2 ผู้รับจ้างต้องประสานงานกับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร และผู้รับจ้างรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
งานก่อสร้างระบบไฟฟ้าแล้วเสร็จสมบูรณ์
1.3 ผู้รับจ้างต้องจัดหาและติดตั้งงานไฟฟ้าทั้งหมดให้ถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าฯ ตามมาตรฐาน
ความปลอดภัยสำหรับงานระบบไฟฟ้าของประเทศไทยและ NEC ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานที่ผิดกฎ
และ/หรือ มาตรฐานดังกล่าวให้ถูกต้อง โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้าง
1.4 จุดของดวงโคม, ปลั๊ก, สวิทช์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่แสดงในแบบ เป็นจุดตำแหน่ง
โดยประมาณเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพของอาคาร โดยผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ
Shop Drawing ให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ
1.5 วัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง ต้องเป็นของใหม่ ได้มาตรฐาน อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ และ
ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน เป็นของที่กำหนดไว้ในแบบและรายการประกอบแบบ และผ่านการ
พิจารณาอนุมัติจากผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นชนิดที่การไฟฟ้าฯ ยินยอมให้ใช้ และมีคุณภาพตาม
มาตรฐาน มอก., BS, DIN, NEMA, VDE วัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว มิได้หมายความว่า
เป็นการพ้นความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง หากตรวจพบข้อผิดพลาดในภายหลัง ผู้รับจ้างต้อง
ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้าง
1.6 การทดสอบ
1.6.1 ผู้รับจ้างต้องจัดหาเครื่องมือและทำการทดสอบการใช้งานวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด
ตามกฎของการไฟฟ้าฯ ตามมาตรฐานที่ดีและปลอดภัย โดยมีผู้ควบคุมงานร่วมในการ
ทดสอบด้วย
1.6.2 การปรับแต่งอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนส่งมอบงาน ผู้รับจ้างต้องปรับแต่งอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า
ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับสถานที่และความต้องการใช้งาน เช่น การปรับการสมดุลของ
โหลด การปรับแต่งแรงดันของระบบ การปรับแต่งการป้องกันการใช้กระแสเกิน และ
การลัดวงจร เป็นต้น
1.6.3 ผู้รับจ้างต้องเปิดเดินเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานเต็มที่ หรือพร้อมที่
จะใช้งานได้เต็มที่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันก่อนส่งมอบงาน
1.6.4 ผู้รับจ้างต้องทำการทดสอบวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามที่ผู้ควบคุมงานกำหนดให้ทดสอบ
จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ และแน่ใจว่าวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นสามารถทำงานได้ดี โดย
ค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้าง
2. งานระบบไฟฟ้าทั่วไป
2.1 สีของสายไฟฟ้า
2.1.1 ระบบไฟฟ้า 380/220 โวลท์ 3 เฟส 4 สาย ใช้สีฟ้าสำหรับสายศูนย์ สีน้ำตาลสำหรับสาย
เฟสเอ สีดำสำหรับเฟสบี สีเทาสำหรับเฟสซี และสีเขียวหรือสีเขียวคาดเหลืองสำหรับ
สายดิน
2.1.2 ระบบไฟฟ้า 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย ใช้สีฟ้าสำหรับสายศูนย์ สีดำหรือน้ำตาลสำหรับ
สายไฟ และสีเขียวหรือสีเหลืองสำหรับสายดิน
2.1.3 สายขนาดใหญ่และสายที่มีผลิตเฉพาะสีเดียว ให้ทาสีหรือพันเทปที่สายไฟทุกแห่งที่มีการ
ต่อสายและการต่อเข้ากับอุปกรณ์ ด้วยสีที่กำหนดให้ดังกล่าว
2.2 การเดินสายไฟฟ้า
2.2.1 สายไฟฟ้าต้องเดินร้อยในท่อโลหะ และ/หรือ เดินลอย และ/หรือ ตามที่กำหนดในแบบ
2.2.2 ท่อโลหะและอุปกรณ์ ต้องเป็นวัสดุที่ใช้เฉพาะกับงานไฟฟ้า โดยวิธีการป้องกันการเป็น
สนิม คือใช้เหล็กอาบสังกะสี มีขนาดไม่เล็กกว่า 12.5 มิลลิเมตร (1/2 นิ้ว) ท่อที่ไม่ได้ฝัง
ในผนังหรือคอนกรีตจะต้องยึดด้วยประกับโลหะ และ/หรือ ประกับสำหรับแขวนท่อทุกๆ
ช่วง 1.5 เมตร จากกล่องต่อสายหรืออุปกรณ์
2.2.3 การเดินสายไฟฟ้าในท่อ ต้องกระทำภายหลังการวางท่อร้อยสาย กล่องต่อสาย กล่องดึง
สาย และอุปกรณ์ต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อุปกรณ์การดึงสายไฟฟ้า ต้องร้อย
สายในขณะที่เดินสายไฟแต่ละช่วง ห้ามมิให้ตระเตรียมหรือร้อยสายไฟไว้ในท่อร้อยสาย
ล่วงหน้าอย่างเด็ดขาด
2.2.4 ท่อที่ต่อเข้ากับกล่องต่อสายและอุปกรณ์ ต้องมีข้อต่อเข้ากล่องต่อสาย (Box
Connector) ติดไว้ทุกแห่ง ปลายท่อที่มีการร้อยสายเข้าท่อ ถ้าอยู่ในอาคารต้องมี
Conduit Bushing ใส่ไว้ ถ้าอยู่นอกอาคารหรือในที่เปียกชื้น ต้องมีหัวงูเห่า (Service
Entrance Fitting) ใส่ไว้ ที่ปลายท่อที่ยังไม่ได้ใช้งาน ต้องมีฝาครอบ (Conduit Cap)
ปิดไว้ทุกแห่ง การต่อท่อโลหะชนิดบางที่ฝังในผนังหรือพื้นให้ใช้ข้อต่อชนิดกันน้ำ การงอ
ท่อต้องให้มีรัศมีความโค้งของท่อไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของ
ท่อ โดยใช้เครื่องมือดัดที่เหมาะสม และเมื่อรวมมุมที่งอแล้วต้องไม่เกิน 360 องศา
(ระหว่างกล่องต่อสายสองจุด)
2.3 ท่อร้อยสายไฟฟ้า
2.3.1 ท่อโลหะชนิดหนา (RSC) ใช้ฝังในดิน ใต้ถนน ฝังในปูนทราย ในพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
และใช้สถานที่ที่อาจได้รับความเสียหายได้ง่าย ท่อโลหะชนิดหนาใช้ข้อต่อชนิดเกลียว
ท่อฝังในคอนกรีต ฝังในดิน และที่อยู่ภายนอกอาคารที่อาจจะเปียกชื้น หรืออยู่ในที่เปียก
ชื้น ต้องทาน้ำยาที่เกลียว (Electrical Pipe Joint Compound) ก่อนใส่ข้อต่อเพื่อกัน
น้ำเข้า
2.3.2 ท่อโลหะชนิดกลาง (IMC) ใช้ติดตั้งในกรณีดังนี้ คือ ที่ Service Entrance ที่ต้องการฝัง
ในดิน หรือในคอนกรีตที่เดินนอกอาคาร หรือฝังในคอนกรีตที่เดินในอาคาร หรือเป็นสาย
ป้อนหรือสายมอเตอร์ หรือที่ชื้น ตามข้อกำหนดของ NEC
2.3.3 ท่อโลหะชนิดบาง (EMT) ใช้เดินลอยเกาะติดกับผนังเหนือเพดาน ท่อโลหะชนิดบาง
โดยทั่วไปใช้ข้อต่อแบบสลักเกลียวขัน และแบบใช้เครื่องมือบีบ
2.3.4 ท่อโลหะชนิดอ่อน (FMC) ใช้ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการสั่นขณะใช้งาน เช่น มอเตอร์
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการความคล่องตัวขณะปรับตำแหน่ง เช่น ดวงโคม หรือใช้ในที่
อื่นๆ ที่สามารถใช้ท่อแข็งได้ และใช้ข้อต่อสำหรับท่ออ่อนโดยเฉพาะ ตัวท่อให้ใช้ขนาดไม่
เล็กกว่า 12.5 มิลลิเมตร (1/2 นิ้ว) ท่ออ่อนที่ใช้ในบริเวณที่อาจจะเปียกชื้นหรืออยู่ในที่
เปียกชื้น ต้องเป็นแบบกันน้ำ และใช้ข้อต่อชนิดกันน้ำ
2.4 การต่อสายไฟฟ้า
2.4.1 สายไฟฟ้าที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 10 ตารางมิลลิเมตร ให้ต่อโดยใช้ Insulated
Solderless Wire Connector ชนิดเกลียวลวด หรือชนิดใช้เครื่องมือกลบีบอัด โดยมี
ฉนวนเป็นไวนีลพลาสติกอ่อน และทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 600 โวลท์ ขนาดให้
เลือกตามมาตรฐานของผู้ผลิต
2.4.2 สายไฟฟ้าที่มีพื้นที่หน้าตัดตั้งแต่ 16 ตารางมิลลิเมตรขึ้นไป ให้ต่อโดยใช้ Solderless
Wire Connector ชนิดใช้เครื่องมือกลบีบอัด ห้ามใช้หัวต่อชนิดใช้สลักเกลียวอัด
นอกจากจะได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ออกแบบ
2.4.3 การต่อสายเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า
– อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ขั้วแบบมีหัวสกรูยึดสาย ให้ใส่ Terminal ชนิดเครื่องมือกลอัด
ทุกแห่ง ห้ามใช้สายพันรอบสกรูไว้เฉยๆ ยกเว้นสายที่ต่อเข้าเต้ารับ โดยที่หัวต่อ
และ Terminal ทุกชนิด ต้องใช้ชนิด UL-Approved หรือเทียบเท่า
– เครื่องมือกลอัดที่ใช้ในการอัดหัวต่อ ต้องเป็นเครื่องมือที่ทำขึ้นสำหรับงานอัดหัวต่อ
โดยเฉพาะ และต้องใช้เครื่องมือตามขนาดที่ผู้ผลิตแนะนำ
– หัวต่อชนิดไม่มีฉนวนในตัว ต้องหุ้มด้วยเทปพันสายอย่างน้อย 3 ชั้น เมื่อพันแล้ว
ต้องหนาไม่น้อยกว่า 7 มิลลิเมตร มีกาวเหนียวในตัว ทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า
105 องศาเซลเซียส กรด ด่าง น้ำ และสารเคมีต่างๆ ทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า
600 โวลท์ เช่น เทป Scotch No. 33
2.5 ชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า
2.5.1 สายไฟ CV แรงดันต่ำผลิตและทดสอบ ตามมาตรฐาน IEC 60228 และ IEC 60502-1
สายไฟจะต้องมีตัวนำเป็นทองแดง ฉนวนเป็น XLPE และเปลือกนอก (SHEATH) เป็น
PVC ขนาดพื้นที่หน้าตัดของตัวนำต้องไม่น้อยกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตร ขนาดแรงดัน
600/1000V อุณหภูมิใช้งาน 90 องศาเซลเซียส หรือตามที่กำหนดในแบบ
2.5.2 สายไฟ CV แรงดันกลาง ผลิตและทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60228 และ IEC 60502-
1 สายไฟจะต้องเป็นชนิด MULTICORE มีตัวนำเป็นทองแดง ฉนวนเป็น XLPE เปลือก
นอก (SHEATH) เป็น POLYETHYLENE (PE) และ SHIELD เป็นชนิด COPPER WIRE
SCREENและหุ้มด้วย STEEL WIRE ARMOURขนาดแรงดัน 20/24 KV และอุณหภูมิใช้
งาน 90 องศาเซลเซียส หรือตามที่กำหนดในแบบ
2.5.3 สายไฟฟ้า ให้ใช้ชนิดทนแรงดันได้ไม่ต่ำกว่า 450/750 โวลท์ ตัวนำเป็นทองแดง ตาม
มาตรฐาน มอก. 11-2553 ชนิดใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส หรือตามที่
กำหนดในแบบ
2.5.4 สายไฟฟ้า ให้ใช้ที่การไฟฟ้าฯ รับรอง ซึ่งผลิตตามมาตรฐาน มอก. 11-2553, ASTM,
MEA หรือ VDE
2.5.5 สายวงจรย่อย สายที่ต่อไปยังเต้ารับและสายดิน ใช้ขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตร
หรือตามที่กำหนดในแบบ
2.5.6 สายจากวงจรย่อย ไปยังดวงโคมแต่ละดวง ใช้ขนาดไม่เล็กกว่า 1.5 ตารางมิลลิเมตร
สำหรับความยาวไม่เกิน 4.5 เมตร จากสายวงจรย่อยเท่านั้น หรือตามที่กำหนดในแบบ
2.5.7 สายที่ใช้ในดวงโคมหลอดไส้ ใช้สายหุ้มฉนวนชนิดทนอุณหภูมิได้ไม่ต่ำกว่า 90 องศา
เซลเซียส เช่น สายที่ใช้ฉนวนใยหิน หรือฉนวนซิลิโคน
2.6 กล่องต่อสาย
2.6.1 กล่องต่อสายและฝาครอบทุกชนิด ใช้แบบทำในประเทศด้วยเหล็กอาบสังกะสี หรือ
อลูมิเนียม หนาไม่น้อยกว่า 1.0 มิลลิเมตร กล่องต่อสายสำหรับสวิทช์และเต้ารับแบบกัน
น้ำฝนได้ ที่ใช้เกาะผนังให้ใช้ชนิดโลหะหล่อ (Die Cast) พ่นสีอบ หรือกล่องพลาสติก
กล่องต่อสายสำหรับติดสวิทช์ได้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสวิทช์ ลึกประมาณ 54
มิลลิเมตร กล่องต่อสายสำหรับติดดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ชนิดหกเหลี่ยมหรือแปด
เหลี่ยม ตามมาตรฐาน NEMA ใช้ขนาดลึกประมาณ 41 มิลลิเมตร กล่องต่อสายสำหรับ
ติดเต้ารับใช้ขนาด 54x112x54 มิลลิเมตร กล่องต่อสายให้ใช้ทุกแห่งที่มีสวิทช์เต้ารับ จุด
ที่ต่อแยกไปยังดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้า จุดที่มีการตัดต่อสาย จุดที่มีการเลี้ยวโค้งเกิน
กว่าที่กำหนด และตามความจำเป็น
2.6.2 กล่องดึงสาย และฝาครอบขนาดใหญ่ ให้ทำด้วยเหล็กแผ่นหนาไม่น้อยกว่า 1.4
มิลลิเมตร พ่นสีกันสนิมและพ่นสีชั้นนอกด้วย
2.6.3 ขนาดกล่องต่อสาย และจำนวนสายในกล่อง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน NEC หรือ VDE
2.6.4 กล่องสำหรับสวิทช์และเต้ารับที่ฝังในผนังและเสา ซึ่งไม่สามารถใช้ขนาดลึก 54
มิลลิเมตรได้ ให้ใช้ชนิดลึก 41 มิลลิเมตร แทนได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร
ผู้ออกแบบก่อน กล่องต่อสายดินอื่นๆ และ Junction Box ให้ใช้ขนาดไม่เล็กกว่า
102x102x54 มิลลิเมตร
2.6.5 การติดตั้งดวงโคมแต่ละดวง ต้องมีกล่องต่อสายดินติดตั้งต่างหากภายนอกดวงโคม ห้าม
ต่อท่อเข้าดวงโคมโดยตรง และไม่ให้ร้อยสายวงจรผ่านทะลุดวงโคมไปยังจุดจ่ายไฟอื่นๆ
2.7 แผงสวิทช์ตัดตอนอัตโนมัติ (Panel Board)
2.7.1 แผงสวิทช์ตัดตอนอัตโนมัติ เป็นชนิด Dead-Front ใช้กับไฟฟ้าระบบ 3 เฟส 4 สาย
380/220 โวลท์ บัสบาร์พร้อมฉนวนต้องทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 415 โวลท์ บัส
บาร์ต้องเป็นทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98% แผงต่อสายศูนย์ต้องทน
กระแสไฟฟ้าได้เท่าบัสบาร์ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส การออกแบบและประกอบ
เป็นไปตามมาตรฐาน IEC หรือ UL
2.7.2 ตัวตู้ ต้องเป็นแบบติดลอย หรือฝังที่ผนัง ตามที่แสดงไว้ในแบบ มีฝาเปิด-ปิดติดบานพับ
ตัวตู้ทำด้วยเหล็กแผ่นหนาไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิมพ่นสีอบ
Epoxy Powder Coating และพ่นสีทับทุกด้าน เป็นตู้ที่ทำไว้สำหรับติดเมนสวิทช์ภายใน
มีประตูเปิด-ปิดด้านหน้ำเป็นแบบ Flush Lock ต้องมี Key Lock และมี Terminal ของ
นิวตรอลและสายดินครบตามจำนวนวงจรย่อย
2.7.3 สวิทช์ตัดตอนอัตโนมัติภายใน ต้องสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 230 โวลท์
สำหรับชนิด 1 สาย และ 400 โวลท์ สำหรับชนิด 3 สาย ขนาดตามที่กำหนดในแบบที่
อุณหภูมินอกแผง 40 องศาเซลเซียส แต่ละสวิทช์ตัดตอนอัตโนมัติ จะต้องมีแผงป้ายบอก
โหลดที่ควบคุม โดยมองเห็นเด่นชัดและไม่ลบเลือนได้ง่าย
2.8 หลอดไฟฟ้า
2.8.1 หลอดไฟเป็นชนิดใช้กับแรงดัน 220 V, 1 PHASE , 50 HZ วัตต์และสีของหลอดไฟเป็น
สี Warm Whiteหรือตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ตามมาตรฐาน VDE หรือ MEMA
หรือ มอก.
2.8.2 HOUSING ของโคมจะต้องทำโดยเหล็ก ป้องกันสนิมด้วยขบวนการ ZINC PHOSPHAT
และพ่นทับด้วยสีฝุ่น EPOXY หรือ POLYESTER
2.8.3 LAMP-HOLDER จะต้องเป็นชนิด ROTARY LOCK ทำมาจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ หน้าสัมผัส
เป็นชนิด SILVER PLATE COPPER
2.8.4 บัลลาสต์จะต้องเป็นชนิด Electronic
2.8.5 โคมฝังฝ้าจะต้องเลือกชนิดที่เหมาะสมกับฝ้า
2.9 ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ
2.9.1 ดวงโคม ให้ใช้ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ โดยต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
ตามที่ระบุ ดวงโคมที่ผลิตตามมาตรฐานของผู้ผลิตในประเทศ อาจมีขนาดแตกต่างจากที่
กำหนดได้เล็กน้อย ดวงโคมทุกชนิดต้องเสนอแบบหรือตัวอย่างให้ผู้ควบคุมงานพิจารณา
อนุมัติก่อนการสั่งซื้อ
2.9.2 ดวงโคมที่ติดตั้งภายนอกอาคาร ต้องเป็นชนิดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศภายนอกอาคาร
ได้ (Weatherproof) และผลิตตามมาตรฐาน มอก., BS, VDE หรือ NEMA
2.9.3 ดวงโคมจะต้องทำด้วยเหล็กหนาไม่น้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร พ่นสีและผ่านการอบ
(Baked Enamel) และมีกรรมวิธีป้องกันสนิมและผุกร่อนได้ดี เช่น ชุบฟอสเฟต หรือชุบ
สังกะสี เป็นต้น
2.9.4 อุปกรณ์ขาหลอด ต้องผลิตตามมาตรฐาน มอก. หรือ VDE หรือ NEMA
2.10 สวิทช์และเต้ารับ
2.10.1 สวิทช์ใช้กับดวงโคมและพัดลมชนิด 1 เฟส เป็นชนิดใช้กับกระแสไฟฟ้าสลับ ทน
แรงดันไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 250 โวลท์ ทนกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 10 แอมแปร์ ก้าน
สวิทช์เป็นกลไกแบบกดเปิด-ปิด โดยวิธีกระดกสัมผัส ตัวสวิทช์เป็นสีงาช้าง หรือสีอื่นตาม
กำหนด ขั้วต่อสายต้องเป็นชนิดที่มีรูสำหรับสอดใส่ปลายสายไฟที่ไม่ได้หุ้มฉนวน สามารถ
กันสายแตะกับสายสวิทช์อื่นในกล่องเดียวกันหรือเข้ากับกล่อง สามารถกันมือหรือนิ้ว
แตะกับขั้วโดยตรง
2.10.2 เต้ารับทั่วไปต้องเป็นแบบติดผนัง มี 3 ขั้ว 3 สาย (รวมสายดิน) ที่เสียบได้ทั้งขากลมและ
ขาแบน ใช้กับกระแสไฟฟ้าสลับ ทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 250 โวลท์ และทนกระแส
ได้ไม่ต่ำกว่า 10 แอมแปร์ ตัวเต้ารับเป็นสีงาช้างหรือสีอื่นตามที่ระบุในแบบ ขั้วต่อสาย
เต้ารับต้องเป็นชนิดที่มีรูสำหรับสอดไส่ปลายสายไฟที่ไม่ได้หุ้มฉนวน มีสกรูกดอัดขันเข้า
โดยตรง สามารถกันมือหรือนิ้วแตะเข้ากับขั้วโดยตรง ห้ามใช้เต้ารับยึดที่ยึดสายไฟโดย
การทับสายใต้ตัวสกรูโดยตรง ฝาครอบสวิทช์และเต้ารับภายในตัวอาคารเฉพาะในที่แห้ง
ให้ใช้ฝาครอบชนิดโลหะไม่เป็นสนิม เช่น Anodized Brushed Aluminum หรือ
Stainless Steel มีฉนวนอยู่ด้านหลัง เพื่อกันไม่ให้ส่วนที่มีกระแสของตัวสวิทช์หรือ
เต้ารับแตะกันได้กับฝาครอบ ฝาครอบต้องเป็นของผู้ผลิตสวิทช์และเต้ารับ
2.10.3 เต้ารับแบบฝังพื้น(Pop-up) มี 3 ขั้ว 3 สาย (รวมสายดิน) ที่เสียบได้ทั้งขากลมและขา
แบน ใช้กับกระแสไฟฟ้าสลับ ทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 250 โวลท์ และทนกระแสได้
ไม่ต่ำกว่า 10 แอมแปร์ ตัวเต้ารับเป็นสีงาช้างหรือสีอื่นตามที่ระบุในแบบ ขั้วต่อสาย
เต้ารับต้องเป็นชนิดที่มีรูสำหรับสอดไส่ปลายสายไฟที่ไม่ได้หุ้มฉนวน มีสกรูกดอัดขันเข้า
โดยตรง สามารถกันมือหรือนิ้วแตะเข้ากับขั้วโดยตรง ห้ามใช้เต้ารับยึดที่ยึดสายไฟโดย
การทับสายใต้ตัวสกรูโดยตรง ตัววัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยย์ แข็งแรง ทนทานส่วน
กล่องเหล็กสำหรับฝังพิ้น ทำจาก Galvanize Steel
2.11 แผงสวิตซ์ไฟฟ้าประธานแรงต่ำ (LV Main Distribution Board)
2.11.1 ข้อกำหนดที่ครอบคลุมถึงความต้องการด้านออกแบบ และการสร้างแผงสวิตซ์ไฟฟ้าแรง
ต่ำซึ่งประกอบด้วยแผงสวิตซ์ไฟฟ้าประธาน (Main Distribution Board) แผงสวิตซ์
ไฟฟ้าประธานฉุกเฉิน (Emergency Main Distribution Board) และแผงสวิตซ์ไฟฟ้า
รอง (Sub Distribution)
2.11.2 ผู้รับจ้างต้องจัดหาแผงสวิตซ์ให้มีขนาดที่เหมาะสมและไม่เล็กกว่าตามที่กำหนดในแบบ
แผงสวิตช์สำหรับระบบแรงต่ำ ที่เป็นโลหะต้องเป็นไปตามมาตรฐานอุตสหกรรม มอก.
1436-2540 หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ออกแบบ
2.11.3 เหล็กแผ่นประกอบตัวตู้หนาไม่น้อยกว่า 1.6 มม ส่วนที่เป็นแผ่นปิดด้านหน้ำด้านหลัง
และด้านข้างให้ทำเป็นแบบพับขอบ และมีร่องสำหรับยึดยางกันกระแทก ด้านบนให้ใช้
แบบแผ่นเรียบยึดด้วยสกรู
2.11.4 ตัวตู้ทั้งหมดเป็นโลหะ ต้องทำความสะอาด และ/หรือผ่านกรรมวิธีการป้องกันสนิม แล้ว
พ่นทับด้วยสีฝุ่นแบบอีป๊อก-โพลีเอสเตอร์ทั้งภายในและภายนอกและอบแห้ง
2.11.5 บัสบาร์ ต้องเป็นทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98% ขนาดตามที่กำหนด ผลิตขึ้น
เพื่อใช้กับงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ บัสบาร์ ต้องยึดติดกับโครงตู้ด้วยฉนวนยึดบัสบาร์ให้
แข็งแรง ทนกระแสลัดวงจรได้ไม่น้อยกว่าตามที่กำหนดในแบบ
2.11.6 บัสบาร์ต้องทำความสะอาดและพ่นสีทนความร้อนหรือหุ้มด้วยพีวีซี (Heat Shrink) โดย
ใช้รหัสสีเหมือนสายไฟฟ้าขนาดกระแสของบัสบาร์ทองแดง ดังนี้
ระบบไฟฟ้าทั้งแรงสูง และแรงต่ำ ให้ใช้สายไฟฟ้าที่มีรหัสดังต่อไปนี้
สีน้ำตาล สำหรับสายไฟฟ้า เฟส A
สีดำ สำหรับสายไฟฟ้า เฟส B
สีเทา สำหรับสายไฟฟ้า เฟส C
สีน้ำตาล สำหรับสายไฟฟ้า เฟส A
สีฟ้า สำหรับสายศูนย์ (Neutral)
สีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง สำหรับสายดินในกรณีที่สายไฟฟ้ามีมาตรฐานการ
ผลิตเป็นสีเดียว ให้ใช้เปลือกหรือเทปพีวีซี สีตามกำหนดไว้ที่ปลายสายไฟฟ้านั้นทั้ง 2
ด้าน
หรือสีตามฐานเดิมของโครงการ
2.11.7 Busbar Holders ต้องเป็นวัสดุประเภท Fiberglass Reinforced Polyester หรือ
Epoxy Resin ยึดด้วย Bolts และ Nuts หุ้ม Spacer ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
2.11.8 การจัดเรียงบัสบาร์ในแผงสวิตซ์ ให้จัดเรียงตามเฟสเอ เฟสบี และเฟสซี ให้เรียงจาก
ด้านหน้าไปหลัง จากบนลงล่างหรือจากซ้ายไปขวา
2.12 เครื่องวัด (Digital Power Metering)
2.12.1 เครื่องวัดเป็นแบบ 3 เฟส 4 สายเพื่อใช้ติดตั้งในส่วน MDB โดยสามารถวัดค่าทางไฟฟ้า
และมีการแสดงผลเป็นแบบดิจิตอลในลักษณะ LCD ซึ่งต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ตาม
มาตรฐาน IEC, VDE หรือUL พร้อมสามารถติดต่อสื่อสารโดยใช้ Protocal ที่เป็น
มาตรฐานโดยทั่วไปได้
2.12.2 เครื่องวัดจะต้องสามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้ดังนี้ คือ กระแสต่อเฟส, กระแสนิวตรอน,
แรงดันต่อเฟส, แรงดันเฟสต่อนิวตรอน, กิโลวัตต์ชั่วโมงและกิโลวาร์ชั่วโมง เป็นอย่าง
น้อย
2.12.3 เครื่องวัดต้องสามารถบันทึกค่า Parameter ต่างๆและค่าเฉลี่ยของกิโลวัตต์ได้และ
สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
2.13 เครื่องวัด (Metering) ที่ใช้ติดตั้งกับแผงสวิตซ์
2.13.1 โวลต์มิเตอร์ ต้องเป็นชนิดต่อตรงกับระบบแรงดัน ความคลาดเคลื่อน 1.5% หรือดีกว่า
2.13.2 โวลต์มิเตอร์สวิตซ์ ต้องเป็นชนิดเลือกได้ 7 จังหวะ คือ จังหวะปิด 1 จังหวะ ระหว่างเฟส
กับ เฟส 3 จังหวะ และระหว่างเฟสกับศูนย์ 3 จังหวะ
2.13.3 แอมมิเตอร์ ต้องเป็นชนิดต่อตรงกับระบบแรงดัน หรือต่อผ่านหม้อแปงกระแส
ความคลาดเคลื่อน 1.5% หรือดีกว่า
2.13.4 แอมมิเตอร์สวิตซ์ ต้องเป็นชนิดเลือกได้ 4 จังหวะ คือ จังหวะปิด 1 จังหวะ และเฟส 3
จังหวะ
2.13.5 หม้อแปลงไฟฟ้ากระแส ต้องมีกระแสด้านออก 5 Amp และกระแสด้านเข้าตามที่
กำหนดความคาดเคลื่อน 1.5% หรือดีกว่า
2.13.6 กิโลวัตต์ และกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ เป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส ต่อตรงกับระบบแรงดัน
หรือต่อผ่านหม้อแปลงไฟฟ้ากระแส ตามที่กำหนดในแบบ ความคลาดเคลื่อน 2.5 %
หรือดีกว่า ผ่านการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อถือได้
2.14 Magnetic Contactor
2.14.1 หากมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้ขนาด Current Rating ของ Contct ตาม AC 3
Duty ตามมาตรฐาน IEC หรือเทียบเท่า
2.15 Mimic Bus และ Nameplate
2.15.1 ด้านแผงสวิตซ์ต้องมี Mimic Bus แสดงการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าออก ทำด้วยแผ่น
พลาสติกสีดำ
2.15.2 ให้มี Nameplate เพื่อแสดงป้ายชื่อหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์จจ่ายหรือ
ควบคุมอยู่เป็นแผ่นพลาสติกพื้นสีเช่นเดียวกับ Mimic Bus
2.16 คุณลักษณะของแผงย่อย
2.16.1 เหล็กแผ่นประกอบตัวตู้ หนาไม่น้อยกว่า 1.2 มม ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิมแล้วพ่นทับ
ด้วยสีและอบแห้งทั้งภายนอกและภายใน ด้านในของฝาด้านหน้าต้องมีที่ยึดแผ่นตาราง
แสดงการใช้งานของสวิตซ์อัตโนมัติแต่ละตัว
2.16.2 บัสบาร์ต้องเป็นทองแดงสำหรับใช้งานทางไฟฟ้าโดยเฉพาะยึดติดบนฉนวนอย่างแข็งแรง
สามารถทนกระแสลัดวงจรได้ไม่น้อยกว่าที่กำหนด
2.16.3 เซอร์กิตเบรกเกอร์ ผลิตตามมาตรบาน IEC ชนิดและขนาดตามที่กำหนด หากมิได้
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ขนาด IC Rating ต้องไม่น้อยกว่า 4.5 kA 240V
2.17 รางเดินสาย (WIREWAY)
2.17.1 รางเดินสายและอุปกรณ์ประกอบทำมาจากเหล็กที่มีความหนาไม่ต่ำกว่า 1.2 มม. ผลิต
ตามมาตรฐาน ASTM A570 & A611 หรือเทียบเท่า อุปกรณ์อื่น เช่น ข้อต่อ, ข้อแยก
และฝาปิด ต้องผลิตตามมาตรฐานผู้ผลิตเท่านั้น
2.17.2 อุปกรณ์ต่อระหว่างรางเดินสาย 2 ท่อน จะต้องมีขั้วต่อกราวด์
2.17.3 ผิวภายนอกและรอยต่อของรางต่อสายต้องราบเรียบไม่ขรุขระ
2.17.4 SUPPORT ของรางเดินสายจะต้องสามารถรับน้ำหนักของรางเดินสาย โดยต้องติดตั้งใน
ระยะไม่เกิน 1.8 ม. และเมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว รางเดินสายจะต้องไม่แอ่น
2.18 บัสเวย์ (BUSWAY)
2.18.1 มาตรฐาน การผลิต การติดตั้งรวมถึงการรับรองบัสเวย์และอุปกรณ์ประกอบให้เป็นไป
ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
2.18.1.1 UL 857, SAFETY STANDARD FOR BUSWAYS AND ASSOCIATED
FITTINGS.
2.18.1.2 NEMA BU1-1991, INSTRUCTIONS FOR SAFE HANDLING,
INSTALLATION, OPERATION, AND MAINTENANCE OF BUSWAY
RATED 600 VOLTS OR LESS.
2.18.2 บัสเวย์ทั้งชนิด FEEDER และ/หรือ PLUG-IN ที่ใช้ ต้องประกอบด้วยบัสบาร์ที่ทำด้วย
ทองแดงหรืออลูมิเนียมหรือตามที่ระบุในแบบ อยู่ภายในกล่องหุ้มปิด (TOTALLY
ENCLOSED NON-VENTILATED HOUSING) เพื่อป้องกันฝุ่น และความเสียหายทางกล
2.18.3 ต้องติดตั้งให้รอยประกบยึดของกล่องหุ้มปิดจะต้องอยู่ด้านล่างหรือด้านข้างเท่านั้น
2.18.4 การจัดวางบัสบาร์เป็นแบบ SANDWICH DESIGN TYPE เพื่อการระบายความร้อนที่ดี
และป้องกันการเกิดCHIMNEY EFFECTของความร้อนและควันในกรณีหากเกิดเพลิงไหม้
2.18.5 บัสเวย์ต้องสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและ/หรือ
ลักษณะการติดตั้ง (ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแบบ EDGEWISE หรือ FLATWISE จะไม่ทำให้
ความสามารถ ในการรับกระแสไฟฟ้าลดลง)
2.18.6 ท่อน (SECTION) ของบัสเวย์ทั้งชนิด PLUG-IN และ FEEDER สามารถติดตั้งโดยต่อกัน
หรือสลับแทนกันได้ (INTERCHANGEABLE) โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษช่วย การติดตั้ง
ต้องใช้ท่อนที่มีความยาวมาตรฐานให้มากที่สุด และใช้ท่อนที่มีความยาวพิเศษตามที่
จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามสภาพของสถานที่ติดตั้ง
2.18.7 บัสเวย์ที่ติดตั้งในแนวนอนต้องมีที่รองรับ (HANGER) ทุกระยะไม่เกิน 3 เมตร และไม่เกิน
4.88 เมตรในแนวดิ่ง
2.18.8 บัสเวย์ที่ติดตั้งภายในอาคารเป็นชนิด INDOOR TYPE โดยมีระดับการป้องกันตาม IP40
หรือ IP41 หรือ IP54 ตามที่ระบุไว้ในแบบ
2.18.9 บัสเวย์ที่ติดตั้งภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดกันน้ำ (WEATHER PROOF) โดยมีระดับการ
ป้องกันน้ำไม่น้อยกว่า IP66 บัสเวย์ที่ติดตั้งทะลุพื้นหรือผนังกันไฟต้องมีวัสดุกันไฟลาม
(FIRE STOP, FIRE BARRIER) ติดตั้ง ปลายของบัสเวย์ทั้งหมดต้องมีฝาครอบปิด (END
CAP)
2.18.10 บัสเวย์ต้องติดตั้งในสถานที่ที่ได้พิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดความเสียหายทางกายภาพแก่
บัสเวย์ จุดต่อ (JOINT) ต่างๆของบัสเวย์ต้องสามารถเข้าไปบำรุงรักษาได้
2.18.11 บัสเวย์ทั้งชนิด FEEDER และ PLUG-IN ต้องมีระบบการต่อลงดิน เป็นแบบ FULLY
INTEGRAL HOUSING GROUND โดยมีพิกัดไม่น้อยกว่า 50% ของพิกัดกระแสของ
บัสเวย์
2.18.12 อุณหภูมิเพิ่มขึ้น (TEMPERATURE RISE) ของบัสเวย์ขณะใช้งานเต็มพิกัด (RATED
LOAD CURRENT) ต้องสูงไม่เกิน 55 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิโดยรอบ
(AMBIENT TEMPERATURE) 40 องศาเซลเซียส
2.19 Cable Tray
2.19.1 Cable Tray ต้องผลิตขึ้นจากเหล็กแผ่นที่ผ่านการป้องกันสนิมโดยวิธีชุบ Galvanized
หรือเป็นแผ่นเหล็กชุบ Electro-Galvanized พร้อมพ่นสีทับ (หรือ Hot Dip-
Galvanized เฉพาะขนาดตั้งแต่ 300 mm ขึ้นไป) โดยแผ่นเหล็กด้านข้างต้องมีความ
หนาไม่น้อยกว่าที่ระบุในแบบ และแผ่นเหล็กพื้นพับเป็นลูกฟูก มีช่องเจาะระบายอากาศ
ได้อย่างดี
2.19.2 Cable Tray ชนิด Ladder ต้องมีลูกขั้นทุกๆ ระยะ 30 เซ็นติเมตรหรือน้อยกว่า
2.19.3 การติดตั้งและใช้งาน Cable Tray ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดใน วสท 2001-45 และต้อง
ยึดกับโครงสร้างอาคารทุกๆ ระยะไม่เกิน 1.50 เมตร
2.20 บัสบาร์ (BUSBAR)
2.20.1 บัสบาร์ต้องทำ ด้วยทองแดง (98% CONDUCTIVITY) หรือ อลูมิเนียม (55%
CONDUCTIVITY)
2.20.2 บัสบาร์ชนิดอลูมิเนียมต้องเคลือบดีบุก และชนิดทองแดงต้องเคลือบเงิน โดยต้องหุ้ม
ฉนวนชนิด CLASS B (130 องศาเซลเซียส) ตลอดความยาวของบัสบาร์ ยกเว้นส่วนที่
เป็นหน้าสัมผัสของจุดต่อ
2.20.3 บัสเวย์ที่ผลิตทุกชิ้นควรจะมีการทดสอบ HIGH VOLTAGE DIELECTRIC TEST ที่แรงดัน
มากกว่า 7000 VOLTS DC ที่โรงงาน
2.21 ระบบรางจ่ายไฟฟ้า (Busway) ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์
2.21.1 ระบบรางจ่ายไฟฟ้า (Busway) ที่เสนอต้องสามารถติดตั้งอุปกรณ์กระจายไฟฟ้า (Tap
Off) ได้ทุกตำแหน่งบนรางจ่ายไฟฟ้า เพื่อความสะดวกในการเพิ่มหรือลดจำนวนโหลด
และเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการ
2.21.2 พิกัดของระบบรางจ่ายไฟฟ้า (Busway) ที่เสนอต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 160A ต่อราง
โดยอุปกรณ์ของระบบรางจ่ายไฟฟ้า (Busway) ประกอบไปด้วย
– รางจ่ายไฟฟ้า (Bus Sections) โดยมีความยาวให้เลือกใช้ ขนาด 3, 5, 6, 10 หรือ
12 ฟุต
– อุปกรณ์รับไฟฟ้าด้านเข้า (Input Power End Feeds)
– อุปกรณ์เชื่อมต่อรางจ่ายไฟฟ้า (Splice Connections)
– อุปกรณ์กระจายไฟฟ้า (Tap Off)
2.21.3 รางจ่ายไฟฟ้า (Busway) ต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีความปลอดภัย มี
องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
– Housing วัสดุเป็นอลูมิเนียม สามารถป้องกันการนำไฟฟ้าของตัวนำ (Busbar) ที่
ติดตั้งอยู่ภายในได้ และมีคุณสมบัติในการช่วยระบายความร้อน มีระดับการป้องกัน
IP2X เป็นการออกแบบป้องกันนิ้วมือยื่นเข้าไปโดยตัวนำที่อยู่ภายในได้
– ตัวนำ (Busbar) ผลิตจากทองแดงบริสุทธิ์ (99%) สำหรับระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะชุบ
ด้วยนิกเกิล สามารถต้านทานการกัดกร่อนและลดความต้านทาน
– ฉนวนภายในเป็นวัสดุ Class B 148 ° C มีความสามารถในการป้องกันการลัดวงจร
สูงสุดโดยความจุของฉนวนสามารถรองรับพิกัดแรงดันได้สูงสุดถึง 1,000 โวลต์
2.21.4 ได้รับมาตรฐานการทดสอบและการรับรองจากมาตรฐาน UL 857, IEC 60439.2 และ
CAN/CSA C22.2 No. 27 เป็นอย่างน้อย
2.21.5 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ PDI / Starline / Siemens / LS
2.18 ตัวประธานไฟฟ้า (Circuit Breaker)
2.18.1 Circuit Breaker ที่นำมาใช้ทั้งหมดต้องทดสอบและผลิตตามมาตรฐาน NEMA, ANSI,
VDE หรือ IEC
2.18.2 Circuit Breaker ที่อยู่ภายใน System เดียวกันและต่อเนื่องกัน มการทำงานตัดวงจร
(Time-Current Curve) สัมพันธ์กัน (Co-Ordination) เพื่อให้ Circuit Breaker ที่อยู่
ใกล้จุด Fault ทำงานตัดวงจรก่อน Circuit Breaker ทั้งหมด จึงควรเป็นผลิตภัณฑ์
เดียวกัน
2.18.3 Main Circuit Breaker เป็นแบบ Manual Operate พร้อม Spring-Assisted Closing
Mechanism นอกจากนี้ในกรณที่กำหนดให้เป็นแบบ Moto Operated จะต้องมี
Motor Operating Mechanism ด้วย
Main Circuit Breaker ต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ประกอบเพื่อทำงานตาม Function
ต่างๆ อย่างน้อยดังนี้
ก. Solid State Trip สำหรับการทำงานดังนี้
– Overcurrent Protection
– Ground-Fault Protection
– Instanteneous Trip
– Long Time Delay และ Short Time Delay Setting
ข. Breaker Position Indicating Device สำ หรับแสดงสภาวะของ Circuit
Breaker ว่าอยู่ในสภาวะ “On” “Off” หรือ “Isolated”
ค. Local “On”/”Off” Push Button สำหรับ Manual Closing และ Tripping
Circuit Breaker
ง. ในกรณีที่ Circuit Breaker เป็นแบบ Draw-Out Type ต้องจัดให้มีการ
Interlock ในลักษณะดังนี้คือ
– ตัว Circuit Breaker จะต้องไม่สามารถใส่เข้าหรือดึงออกหาก Circuit
Breaker นั้นจะต้องอยู่ในตำแหน่ง “On” หรือ “Closed”
– ตัว Circuit Breaker จะต้องไม่สามารถสับ “Closed” ได้นอกจากตัว
Circuit Breaker นั้นจะเสียบเข้าอย่างดีหรืออยู่ในสภาวะ “Isolated”
หรือ “Witdrawn”
จ. Shut Trip Coil สำหรับการ Tripping ตัว Circuit Breaker และ Trip Circuit
Healthy Lamp
ฉ. Auxiliary Contacts สำ หรับการทำ Interlock, Local Status Indication
หรือ Control ทั้งนี้ให้จัดเตรียม Spare ไว้ 50%
ช. ให้จัดเตรียม Key Lock หรือ Pad Lock (ในกรณีทีกำหนดให้มี)
ซ. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีสำหรับการทำ Function ต่างๆ ตามที่
กำหนดในข้อกำหนดนี้หรือตามที่ระบุในแบบ
2.18.4 Feeder และ Sub-Feeder Circuit Breaker ต้องเป็นแบบ Molded Case Type,
Toggle Operating Mechanism ทำ ง า น ด้ว ย Trip Free, Quick-Make พ ร้อ ม
Individual Thermal และ Electromagnatic Trip
2.18.5 ทั้ง Main Circuit Breaker, Feeder Circuit Breaker แ ล ะ Sub-Feeder Circuit
Breaker ต้องมีขนาด Rated Continuous Current และขนาด Rated Short Circuit
Interrupting Capacity ตามที่กำหนดในแบบ ทั้งนี้ค่า Rated Circuit Interrupting
Capacity ให้ใช้ค่าที่รับแรงดัน 415 VAC ตามมาตรฐาน IEC
สายไฟฟ้าแรงสูง High Voltage Line
1. ความต้องการทั่วไป
วัสดุ อุปกรณ์ และการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องเป็นไปตามกฎแลระเบียบของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค
2. ขอบเขต
2.1 ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆของสายไฟฟ้าแรงสูง 3 เฟส 3 สาย 24 KV-50
Hz และอื่นๆติดตั้ง ตามที่กำหนดไว้ในแบบ เพื่อให้ใช้งานได้สมบรูณ์ และถูกต้องตามความ
ประสงค์ของ กรมสรรพสามิต
2.2 ผู้รับจ้างจะต้องทำการประสารงานกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อทำการติดตั้งสาย
ไฟฟ้าแรงสูงเข้าสู่พื้นที่ โดยที่ขนาดของสายไฟฟ้าบนถนนหลักจะต้องเพียงพอกับการที่การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาคจะทำการขยายเขตเข้าสู่พื้นที่ของผู้ว่าจ้าง
2.3 ค่าใช้จ่ายในข้อ 2.1-2.2 รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดให้ผู้รับจ้าง รวมอยู่ในงานเป็นงานเหมา
และผู้รับจ้างจะไม่มีการคิดราคาเพิ่มใดๆทั้งสิ้น
3. ความต้องการทางด้านเทคนิค
3.1 สาย Space Aerial Cable (SAC)
– ตัว นำ เ ป็น Compact round stranded hard-drawn aluminium wires ต า ม
มาตรฐาน ICEA S-66-5243.2
– มีฉนวนเป็น Cross-linked polyethylene (XLPE)
– Conductor shield เ ป็น ช นิด Semi-conductive Cross-linked polyethylene
(XLPE)
– มีเปลือกนอก (Jacket) เป็น Cross-linked polyethylene (XLPE)
– อุณหภูมิใช้งานสูงสุด (Maximum Operating Temperature) 90°C
– เคเบิล ต้องเป็นชนิดหลายแกน (Multi Core)
3.2 สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)
– ตัวนำ (Conductor) เป็นทองแดงตีเกลียว Copper Concentric Strand
– Conductor shield เ ป็น ช นิด Semi-conductive Cross-linked polyethylene
(XLPE)
– มีฉนวนเป็น Cross-linked polyethylene (XLPE)
– มี semi-conducting tape เป็นชีลด์ของฉนวน (Insulation Shield) และห่อหุ้มด้วย
Copper Tape
– มีเปลือกนอก (Jacket) เป็น Polyethylene
– อุณหภูมิใช้งานสูงสุด (Maximum Operating Temperature) 90°C
3.3 ท่อร้อยสายอโลหะชนิด HDPE
– ผลิตจากวัสดุโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HIGH DENSITY POLYETHYLENE) ซึ่ง
มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าและทนทานต่อสภาพความเป็นกรด-ด่าง ผลิตตามมาตรฐาน
มอก. 982-2548 DIN 8074/8075 หรือมาตรฐานการไฟฟ้าและมี CLASS PN6 เป็น
อย่างน้อย
– ผิวภายในท่อเรียบมันมีความฝืดต่ำและผิวด้านนอกเรียบและคาดสีส้ม
– ใช้ติดตั้งภายนอกอาคารหรือฝังดินโดยตรง
– การเชื่อมต่อระหว่างท่อนให้มี COUPLING และทากาวด้านใน หรือใช้การต่อแบบ
ปากแตรสวมกับท่อนตรง
4. รหัสสีและป้ายชื่อ
4.1 เพื่อสะดวกแก่การซ่อมบำรุงระบบในอนาคต จึงกำหนดให้จัดทำรหัสสี และป้ายชื่อกำกับวัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และสื่อสารตามรายละเอียดในหัวข้อนี้
4.2 ระบบไฟฟ้าทั้งแรงสูง และแรงต่ำ ให้ใช้สายไฟฟ้าที่มีรหัสดังต่อไปนี้
สีน้ำตาล สำหรับสายไฟฟ้า เฟส A
สีดำ สำหรับสายไฟฟ้า เฟส B
สีเทา สำหรับสายไฟฟ้า เฟส C
สีน้ำตาล สำหรับสายไฟฟ้า เฟส A
สีฟ้า สำหรับสายศูนย์ (Neutral)
สีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง สำหรับสายดินในกรณีที่สายไฟฟ้ามีมาตรฐานการ
ผลิตเป็นสีเดียว ให้ใช้เปลือกหรือเทปพีวีซี สีตาม
กำหนดไว้ที่ปลายสายไฟฟ้านั้นทั้ง 2 ด้าน
หรือสีตามฐานเดิมของโครงการ
5. การติดตั้ง
ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.1 การตัดต่อหรือแยกสายไฟฟ้าแรงสูงให้ทำ ได้ใน Handhole, Manhole และสวิตซ์เกียร์
ไฟฟ้าแรงสูงเท่านั้น การต่อสายตัวนำให้ใช้ปลอกชนิดแรงกลอัด (Compression Connector)
แล้วหุ้มส่วนตัวนำด้วยชุดฉนวน (Splicing Kit) และติดตั้งตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
5.2 ให้มีกรรมวิธีป้องกันความชื้นที่ปลายสายทั้งสองข้างของสายไฟฟ้าแรงสูง โดยใช้ Termination
Kit ที่เหมาะสม และติดตั้งตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
6. การทดสอบ
ผู้รับจ้างต้องทำการทดสอบอุปกรณ์แรงสูงต่างๆ รวมทั้งตรวจวัดค่าความต้านทานของฉนวนสายไฟฟ้า
และให้ทำการตรวจสอบโดยทีมของการไฟฟ้าฯ ก่อนจ่ายไฟฟ้า ถ้าหากมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ผ่านการ
ตรวจสอบดังกล่าว ผู้รับจ้างต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยถือรวมอยู่ในงานเป็นงานเหมา และผู้รับจ้างจะ
ไม่มีการคิดราคาเพิ่มใดๆทั้งสิ้น
7. หมายเหตุ: ข้อกำหนดเพิ่มเติม
โดยเสาไฟที่ใช้สำหรับระบบสายแรงสูงให้ผู้รับจ้างจัดหาเสาใหม่ทั้งหมดและเป็นเสาคอนกรีตความยาวเสา
12 เมตร ตามมตรฐานของการไฟฟ้า
สวิตช์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูง High Voltage Switch Gear
1. ข้อกำหนด
1.1 ข้อกำหนดนี้ระบุถึงความต้องการด้านการออกแบบ สร้าง และการติดตั้งแผงสวิทซ์ไฟฟ้าแรงสูง 24
KV SF6 Insulated Switchgear ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งานกับระบบ Open Loop ด้วยระดับ
แรงดันไฟฟ้า 24 KV, 3-Phase, 3-Wire, 50 Hz Underground Distribution Feeder ได้
1.2 นอกจากมีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น แผงสวิทซ์ไฟฟ้าแรงสูง High Voltage Switchgear ต้องผลิต
และทดสอบตามมาตรฐานล่าสุดของ IEC และเป็นที่ยอมรับของการไฟฟ้าฯ
1.3 ผู้รับจ้างจะต้องนำเสนอตัวอย่างผลการทดสอบ TYPE TEST ตู้สวิทซ์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูงนี้ จาก
สถาบันที่เชื่อถือได้ เช่น KEMA หรือ PEHLA หรือ DAR หรือ CESI หรือ ACAE หรือ SATS ด้วย
พิกัดแรงดัน และกระแสลัดวงจรไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรฐานตามมาตรฐาน IEC 62271
โดยผลการทดสอบจะต้องรับรองผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตนั้นโดยตรง นอกจากการทดสอบจาก
โรงงานผู้ผลิตและจากการไฟฟ้าท้องถิ่นแล้ว เมื่อมีการติดตั้งแผงสวิทซ์ไฟฟ้าในที่ใช้งานแล้วต้อง
ตรวจสอบและทดลองอย่างน้อยตามกำหนดดังนี้
– ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าของอุปกรณ์ภายในแผงสวิทช์ทั้งหมด
– ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าของสายป้อน (Feeder) ต่างๆ ที่ออกจากแผงสวิทซ์
– ตรวจสอบระบบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทดสอบความถูกต้อง
1.4 โครงสร้างของตู้ Switchgear แรงสูง (Switchgear Cubicle Construction)
– เ ป็น ช นิด แ บ บ Metal – Enclosed type Hermetically Sealed in SF6 Filled
Container
– ส่วนที่เป็น High Voltage Live Part และ Bus Bar จะต้องบรรจุอยู่ภายใน Gas Tank
เดียวกัน หรือถ้าอยู่ภายนอก Gas Tank นั้น Bus Bar ต้องเป็นชนิด Screened Bus bar
หุ้มด้วย Silicone rubber และสามารถสัมผัสได้อย่างปลอดภัยขณะจ่ายไฟ
– เหล็กที่ใช้ประกอบเป็นแผงสวิทซ์ในส่วนที่เป็น Gas Tank ต้องเป็น Stainless Steel
และในส่วนอื่นๆ ที่เป็นเหล็ก จะต้องผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิมและป้องกันการกรัดกร่อน
พร้อมต้องพ่นทับด้วยสีอีกชั้นหนึ่ง
– Cable Terminator ต้องเป็น ชนิด Silicon rubber, Bolt on, touchable, 24 kV,
630 A สำหรับ Outgoing feeder และ Incoming feeder
– มี Indicator แสดงความดันของ Gas ภายในตัวถังเพื่อบอกสถานะว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
– Protection class ของ Switchgear ไม่ต่ำกว่า IP 67 สำหรับ Gas tank และ IP 3X
สำหรับ Compartment อื่นๆ
– ฝาปิด Cable Compartment จะเปิดออกได้เมื่อ earthing switch อยู่ในตำแหน่ง
closed เท่านั้น, Earthing switch มีระบบ Electromagnetic interlocked
– มี Pad lock ที่ตำแหน่งของ Close และ Open ของ Earthing switch และ Pad lock
ที่ตำแหน่ง Open ของ Disconnecting Switch
– Switchgear และอุปกรณ์ที่เสนอมาทั้งหมดต้องแนบ Type Test แนบมาพิจารณาด้วย
1.5 Circuit Breaker ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
– เป็นชนิด Vacuum Circuit Breaker ทำงานแบบ Spring Charge Manual Operated
/ Motor Operated 110Vdc และมี Mechanical Interlock ระหว่าง Circuit Breaker
กับ Earthing Switch หรือเป็นแบบ Three Position Switch
– ต้องมี Auxiliary Contact สำหรับ VCB และ Earthing Switch ไม่น้อยกว่า 2NO/2NC
– ต้องมี Push button สำหรับ “ON” และ “OFF” Circuit Breaker ไม่น้อยกว่า 1 ชุด
– ต้องมี Shunt Trip Coil 110Vdc ไม่น้อยกว่า 1 ชุด
– ต้องมี Capacitor Indicating Lamp ไม่น้อยกว่า 1 ชุด
– Circuit Breaker ต้องมีขนาดพิกัดไม่น้อยกว่าค่า ดังต่อไปนี้
Rated voltage : 24 kV
Rated insulation level
Lightning impulse withstand voltage : 125 kV peak
Power frequency Withstand voltage : 50 kV RMS
Rated frequency : 50 Hz
Rated normal current
For busbar section : 630 A
For incoming and bus section at least : 630 A
For outgoing feeder : 630 A
Rated Short –Time Current (3sec) Not less than : 16kA
Rated Short – Circuit Making Current Not less than : 40kA
1.6 Multifunction Protection Relay ระบบป้องกัน เป็นชนิด Microprocessor Base System และ
มีคุณสมบัติดังนี้
– เป็นอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายของตู้ HVS สามารถป้องกัน (Protection), ควบคุม
(Control), การวัด (Measuring) และการแสดงผลข้อมูลบันทึกค่า (Status And
Record) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบอยู่ในตัวเดียวกัน
– สามารถ Configuration , Setting และ Metering ผ่าน PC ได้
– Power Supply : 110 -125Vdc or 220Vac
– การป้องกัน (Protection) ต้องมีระบบป้องกันไม่น้อยไปกว่านี้
Short Circuit : Non-Directional Overcurrent (50/51)
Earth Fault : Non-Directional Earth Faults (50N/51N)
Overload : Three Phase Thermal Overload (49)
Over Voltage : Three Phase, Overvoltage (59)
Under Voltage : Three Phase Undervoltage (27)
– การควบคุม (Control) ต้องประกอบไปด้วยปุ่มควบคุมและแสดงผลอย่างน้อยดังนี้
Graphic Real Time
Liquid Crystal Display For Display
Mimic Diagram
Pushbutton For Opening
Pushbutton For Closing
Pushbutton Selected For Local/ Remote
Pushbutton Selected For Operation /Set
Acknowledgement Push Button
Selection Push Button For Parameters To Be Displayed
Freely Programmable Alarms ไม่น้อยกว่า 5 LEDs
– การวัด (Measuring) ต้องสามารถวัดและแสดงค่าทางไฟฟ้าไม่น้อยไปกว่านี้
Three Phase Current
Neutral Current
Frequency
Three Phase Power Energy
Three Phase Voltage
– การแสดงผลและบันทึกค่า Parameter (Monitoring And Recorder) ต่างๆ ต้อง
สามารถแสดงค่าทางไฟฟ้าไม่น้อยไปกว่านี้
Open / Close Circuit Breaker
Operating Hours
Trip Circuit Breaker
Alarm And Events Record
Electric Parameter Record
Maintenance Schedule
Disturbance
1.7 สายไฟฟ้าสำหรับระบบควบคุมและเครื่องวัดภายในแผงสวิทซ์
– สายไฟฟ้าสำหรับระบบควบคุมและเครื่องวัด ซึ่งเดินเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ไฟฟ้ากับ
อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้ากับ Terminal Block ให้ใช้สายชนิด Flexible
Annealed Copper Wire 750 Volts, PVC-Insulated ข น า ด ข อ ง ส า ย ไ ฟ ฟ้าต้อ ง
สามารถนำกระแสได้ตามต้องการ แต่ไม่เล็กกว่าที่กำหนดดังนี้
Current Circuit : 4 ตารางมิลลิเมตร
Voltage Circuit : 2.5 ตารางมิลลิเมตร
Control Circuit : 2.5 ตารางมิลลิเมตร
Ground ระหว่างตัวแผงกับบานประตู : 10 ตารางมิลลิเมตร
– สายไฟฟ้าทั้งหมดต้องวางอยู่ในรางสาย (Trunking) หรือท่ออ่อนเพื่อป้องกันการชำรุด
ของฉนวน สายไฟฟ้าแต่ละเส้นที่เชื่อมระหว่างจุดที่กล่าว ห้ามมีการตัดต่อโดยเด็ดขาด
1.8 การติดตั้ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ การตัดต่อหรือแยกสายไฟฟ้าแรงสูงให้ทำได้ใน
Hand hole, Manhole และสวิตซ์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูงเท่านั้น การต่อสายตัวนำให้ใช้ปลอกชนิด
แรงกลอัด (Compression Connector) แล้วหุ้มส่วนตัวนำด้วยชุดฉนวน (Splicing Kit) และติดตั้ง
ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ให้มีกรรมวิธีป้องกันความชื้นที่ปลายสายทั้งสองข้างของสาย
ไฟฟ้าแรงสูง โดยใช้ Termination Kit ที่เหมาะสม และติดตั้งตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
1.9 ผู้รับจ้างต้องทำการทดสอบอุปกรณ์แรงสูงต่างๆ รวมทั้งตรวจวัดค่าความต้านทานของฉนวน
สายไฟฟ้า ถ้าหากมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ผ่านการตรวจสอบดังกล่าว ผู้รับจ้างต้องทำการแก้ไขให้
ถูกต้อง โดยถือรวมอยู่ในงานเป็นงานเหมา และผู้รับจ้างจะไม่มีการคิดราคาเพิ่มใดๆทั้งสิ้น
หม้อแปลงไฟฟ้า Transformer
1. ความต้องการทั่วไป
1.1 ข้อกำหนดนี้ได้กำหนดถึงความต้องการด้านการผลิต คุณภาพ สมรรถนะ การติดตั้งและทดสอบหม้อ
แปลงไฟฟ้าชนิดแห้ง (Dry type) มีฉนวนเป็นแบบ Cast Resin ห่อหุ้มด้วย Metal Enclosure และ
ติดตั้งพัดลม โดยคอยล์แรงสูงขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยี Vacuum Casting มีความเหมาะสมสำหรับติดตั้ง
ภายในอาคาร นอกจากนั้นตัวหม้อแปลงควรมีส่วนผสมของสารที่จะแตกตัวเมื่อเกิดไฟไหม้หรือเกิด
ความร้อนกับตัวหม้อแปลง ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิและลดความเสียหายอันเกิดจากไฟ
ไหม้ที่เกิดขึ้นหรือดีกว่า
2. ข้อกำหนดทางเทคนิค
1.2 หม้อแปลงต้องผลิตและทดสอบตามมาตรฐาน มอก.384-2543 หรือ IEC 60076-11 หรือเทียบเท่าซึ่ง
มีคุณสมบัติและสมรรถนะดังนี้
– Rated power ตามระบุในแบบ
– Rated frequency 50 Hz.
– Number of phase 3 Phase
– Cooling system AN / AF (130% หรือ 140% up rating capacity)
– Rated primary voltage 33kV or 12/24 KV Delta connection (Depend on
Location)
– Rated secondary voltage 416 / 240 V Star connection
– Off-load tap changer – 4 x 2.5% on HV Side
– Vector group Dyn1
– Total loss (No-load loss and Load loss) ไม่เกิน 1.5% ของ KVA
– Percent of impedance voltage 6%
– Noise level at 1 m. 59 dB.
– Basic impulse level voltage (BIL) of HV 125 KV.
– Type of winding material HV / LV Copper Strip / Copper Foil
– Class of insulation HV/ LV Class F / Class F
– Temperature rise of HV Winding ไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส
– Temperature rise of LV Winding ไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส
– Housing (degree of protection) IP 31
1.3 Iron core แกนเหล็กต้องสร้างขึ้นด้วย High grade nonaging silicon Steel lamination ซึ่งให้ค่า
hysterisis และ eddy current ต่ำ แกนเหล็กนี้ต้องถูกยึดแน่นด้วยเหล็ก clamp ที่มีความแข็งแรง
1.4 High Voltage Winding ขดลวดแรงสูงต้องทำด้วยแถบ ตัวนำทองแดง หุ้มด้วยฉนวน class F ซึ่งหล่อ
ด้ว ย Resin / Glass fiber ภ า ย ใ ต้สูญ ญ า ก า ศ ( Cast with epoxy resin / glass fiber under
vacuum) โดยการออกแบบให้มีร่องระบายอากาศ (air cooling duct) ภายในระหว่างชั้นของขดลวด
เพื่อให้การระบายความร้อนมีประสิทธิภาพที่สุด
1.5 Low Voltage Winding ขดลวดด้านแรงต่ำ ต้องทำด้วยทองแดงแผ่นบาง (Copper Foil Winding)
และหุ้มด้วยฉนวน Prepregs Class F ซึ่งคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นได้ดีและมีความยืดหยุ่นสูง
ทนทานต่อการแตกร้าวเมื่อขดลวดร้อนและขยายตัว ขดลวดแรงต่ำที่เป็น Foil Winding จะช่วยให้
กระแสไหลทั่วถึงตลอดแนวกว้างของแผ่นตัวนำ ทำให้ไม่มีแรงในแนวแกน (Axial Force) จึงป้องกัน
หม้อแปลงได้จากสภาวะลัดวงจร (Short Circuit Current)
1.6 Temperature monitoring หม้อแปลงทุกตัวต้องมี Thermometer สำหรับอ่านค่าอุณหภูมิที่ coil
ใด coil หนึ่ง ซึ่งติดตั้งอยู่นอกตู้หม้อแปลงสามารถอ่านค่าได้ชัดเจนพร้อมทั้งมีบันทึกเก็บค่าอุณหภูมิ
สูงสุด (Maximum Pointer) ในการป้องกันหม้อแปลงอันเนื่องมาจากอุณหภูมิแวดล้อมสูงหรือเกิด
Over Load ให้มีTemperature Sensors ที่เป็นอุปกรณ์ PTC หรือ PT100 ติดฝังอยู่ภายใต้ขดลวด
แรงต่ำทั้งสามขดในบริเวณที่เป็นจุด Hottest Spot ของขดลวด และสามารถถอดเปลี่ยนได้เมื่อมีเหตุ
ชำรุดเสียหาย อุปกรณ์PTC หรือ PT100 ที่ฝังอยู่ในขดลวดทั้ง 3 ขด จะสั่งการให้ชุดควบคุมทำงาน
แบบอัตโนมัติที่ 3 ระดับอุณหภูมิดังนี้ (หรือตามมาตรฐานของผู้ผลิต)
– พัดลมทำงานที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต
– สัญญาณเตือน Alarm ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต
– สัญญาณ Trip ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต
1.7 ตู้หม้อแปลง (Enclosure) ตู้ครอบหม้อแปลง ต้องประกอบขึ้นจากแผ่นเหล็กหนาไม่น้อยกว่า 2.3 มม.
ป้องกันสนิมโดย วิธีชุบ Electro-galvanize และพ่นทับด้วยสีฝุ่น Epoxy ตู้หม้อแปลงต้องถูกออกแบบ
ให้ระบายความร้อนได้ เป็นอย่างดี และไม่ทำให้พิกัดกำลังของหม้อแปลงลดลง ระดับการป้องกันของตู้
จะต้องไม่น้อยกว่า IP 21
1.8 พัดลมระบายความร้อน พัดลมระบายความร้อน จะต้องเป็นแบบ Cross Flow Fan ติดตั้งใต้ขดลวด
ทั้งสามเฟสเพื่อให้ลมไหลผ่านร่องอากาศของขดลวดได้เป็นอย่างดี จำนวนและขนาดพัดลมต้อง
ออกแบบให้สามารถเพิ่มกำลังของหม้อแปลงได้ไม่น้อยกว่า 140% ของ Rating Capacity โดยพัดลม
จะทำงานแบบอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิหม้อแปลงสูงถึงจุดที่กำหนดไว้
1.9 การทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าทุกเครื่องจะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน IEC
60076 จาก Laboratory ที่เชื่อถือได้ โดยโรงงานผู้ประกอบหรือผู้ผลิตครบถ้วนทุกรายการ พร้อมทั้งมี
ผลการทดสอบมาแสดง ดังนี้ :
– Ratio test
– Polarity and phase relation test
– Applied voltage test
– Induced voltage test
– Exciting current and No-load losses test at 100% load
– Impedance and Load lossed test
– Resistance measurements
– Insulation Resistant test
– Partial Discharge test for each HV Coils
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator
1. ความต้องการทั่วไป
1.1 ผู้รับจ้างต้องดำเนินการจัดหาและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน (Standby Rating) พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติ และ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นรวมถึงฐานคอนกรีตรองรับแท่นเครื่อง เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
สำรองฉุกเฉินดังกล่าวสามารถติดตั้ง และทำงานโดยสมบูรณ์ตามที่ระบุในข้อกำหนดนี้ทุก
ประการ
1.1.2 ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมรายละเอียด คุณสมบัติ และการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
(Standby Rating) อุปกรณ์ควบคุม Automatic Starter, Automatic Transfer Switch
ตลอดจนถังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบส่ง และหมุนเวียนน้ำมันเชื้อเพลิง ถังน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้อง
มีขอบกันน้ำมันรั่วตามมาตรฐาน
1.2 ถังน้ำมันสำรองขนาด 3,000 ลิตรหรืออย่างน้อย 12 ชั่วโมง
1.3 ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามมาตรฐานการทดสอบเครื่องก่อนที่จะทำการส่ง
มอบเครื่อง และหลังจากที่นำมาติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
2. ข้อกำหนดของอุปกรณ์
2.1 เครื่องยนต์ต้นกำลัง (Engine) รายละเอียดดังนี้
2.1.1 เป็นเครื่องยนต์ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ระบายความร้อนด้วยน้ำ ทำงานที่ Rated Speed
1,500 รอบต่อนาที
2.1.2 ขนาดกำลังของเครื่องยนต์จะต้องเป็นขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานตามมาตรฐาน BS หรือ
DIN หรือ SAE หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
2.1.3 ระบบควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ใช้ Governor แบบ Electronic โดยควบคุม
ความเร็วเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5% ของ Rated Speed ที่สถานะคงตัว (Steady State)
2.1.4 ระบบระบายความร้อน เป็นระบบระบายความร้อนโดยใช้ Water Pump ส่งน้ำไประบาย
ความร้อนในส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย หม้อน้ำ พัดลม และ Thermostat Valve เพื่อช่วย
ในการควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาวะคงที่ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ การระบาย
ความร้อนของน้ำ ใช้ Radiator และ Blower Fan ซึ่งติดตั้งกับเครื่องยนต์ พร้อมทั้ง Guard
ป้องกันส่วนเคลื่อนไหว
2.1.5 ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วย 12 หรือ 24 VDC starting motor โดยใช้กระแสไฟฟ้าจาก
lead-acid battery ซึ่งมีความจุไฟฟ้าพอที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ติดต่อกันได้อย่างน้อย 4 ครั้ง
พร้อมกันนั้นยังสามารถใช้ได้กับระบบอัตโนมัติ ระบบควบคุม ระบบเตือนหรือระบบอื่น ๆ ที่
จำเป็นอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นต้องมีชุดสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ (Battery Free)
ซึ่งต่อขนานกับระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการสตาร์ทของ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยดังนี้
ด้านขาเข้า Input
ใช้กับระบบไฟฟ้า 380/400/415 VAC
3-phase 50 Hz
มีขนาดพิกัดกระแสด้านเข้า (Rated Input Current) 32 Amp
ด้านขาออก Output
UL Rating 24 VDC, 1000 Amps
SAE Cold Cranking Amps 1725 Amps
Continuous Output (max) 25 Amps
สามารถจ่ายกระแสได้ถึง 10 Cycles ครั้งละ 10 วินาที
สามารถติดตั้งห่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ สูงสุด 25 ฟุต
ได้รับมาตรฐาน UL1778 ,EN 61558-1 และ EN 50091-2
มีระดับการป้องกันไม่น้อยกว่า IP 43
2.1.6 ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์ต้องมีเครื่องกรองน้ำมันหล่อลื่น ติดตั้งไว้ในที่บำรุงรักษาได้สะดวก
2.1.7 ระบบมีไส้กรองอากาศแบบ Dry Type สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้
2.1.8 ระบบเชื้อเพลิง ในระบบต้องมีเครื่องกรองน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเปลี่ยนไส้ได้ ติดตั้งในตำแหน่งที่
เข้าบำรุงรักษาได้สะดวก ต้องมีอุปกรณ์สำหรับกันน้ำที่อาจจะปนอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง
2.1.9 การลดเสียงจากท่อไอเสีย ให้มี Exhaust Silencer พร้อมทั้งมี Flexible Exhaust Pipe ข้อ
ต่อโค้ง และอุปกรณ์ประกอบ ความดังต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด 85 เดซิเบล ที่ระยะ 3
เมตร
2.1.10 ระบบป้องกันเครื่องยนต์ สำหรับป้องกันการทำงานผิดปกติของเครื่องยนต์และดับเครื่องยนต์
โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีไฟสัญญาณเตือนอย่างน้อยที่สุดในกรณีต่อไปนี้
– ความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงเกินกำหนด
– ความดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำเกินกำหนด
– อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์สูงเกินกำหนด
– เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
2.1.11 มาตรวัดต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ อย่างน้อยดังนี้
– มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
– มาตรวัดความดันน้ำมันหล่อลื่น
– มาตรวัดความเร็วรอบ
– มาตรวัดชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์
– มาตรวัดไฟประจุแบตเตอรี่
2.2 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Alternator) รายละเอียดดังนี้
2.2.1 เป็นแบบไม่มีแปรงถ่าน (Brushless) ต่อโดยตรงเข้ากับเครื่องยนต์โดยผ่าน Flexible
Laminated Steel Disk หรือวิธีอื่นที่ผู้ผลิตแนะนำ ออกแบบให้ระบายความร้อนด้วยพัดลม
ซึ่งติดบนแกนเดียวกันกับโรเตอร์
2.2.2 สามารถจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 400/230 V 3 เฟส 4 สาย 50 Hz Power Factor 0.8 ที่
ความเร็วรอบ 1,500 รอบต่อนาทีโดยมีขนาดเป็นกิโลวัตต์ (หรือ kVA) ตามที่กำหนด
2.2.3 ฉนวนของขดลวดโรเตอร์และสเตเตอร์ ต้องได้ตามมาตรฐานของ NEMA Class H หรือตาม
มาตรฐานผู้ผลิต
2.2.4 การควบคุมแรงดัน (Voltage Regulator) ใช้ระบบ Automatic Voltage Regulator โดย
ต้องสามารถควบคุมแรงดันที่เปลี่ยนแปลงต้องไม่เกิน + 0.5% ที่สถานะคงตัว (Steady
State) โดยมี Speed เปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 5% หรือดีกว่า
2.2.5 ก า ร Excitation System เ ป็น แ บ บ Permanent Magnet Excited ห รือ Separate
Excitation หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต
2.2.6 แผงควบคุมสำ หรับเครื่องกำ เนิดไฟฟ้าสำ รองฉุกเฉิน (Generator Control Panel)
รายละเอียดดังนี้
2.2.6.1 ผู้รับจ้างต้องจัดหาติดตั้งแผงควบคุมสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน และอุปกรณ์
ประกอบ โดยที่แผงควบคุมให้ออกแบบและสร้างตามมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิต
หรือตัวแทนจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ/หรือ ตามที่แสดงในแบบและระบุใน
ข้อกำหนดนี้ทุกประการ
2.2.6.2 โครงสร้างของแผงควบคุม การออกแบบการสร้างและการทดสอบแผงควบคุมต้อง
เป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต
2.2.6.3 แผงควบคุมสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน ต้องประกอบด้วยอุปกรณ์และ
เครื่องวัดชนิดแสดงผลเป็นตัวเลขต่าง ๆ อย่างน้อยดังนี้
– แอมมิเตอร์ AC & DC
– โวลต์มิเตอร์ AC
– ฟรีเควนซีมิเตอร์
– แอมมิเตอร์/โวลต์มิเตอร์ เฟสซีเลกเตอร์ สวิตช์
– มิเตอร์แสดงชั่วโมงการทำงาน
– เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดตามที่ได้แสดงไว้ในแบบ
– ชุดสตาร์ทเครื่อง พร้อมปุ่มกด สวิตช์ หรือกุญแจหมุน (Key Switch)
– ชุดดับเครื่องเองโดยอัตโนมัติ
– สวิตช์ควบคุมให้เครื่องยนต์สตาร์ทเครื่อง อุ่นเครื่องและดับเครื่องเองโดย
– อัตโนมัติตามระยะเวลาตามที่ผู้ใช้กำหนด (7-10 วัน)
– อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานผู้ผลิต
2.2.6.4 ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Day Tank) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินต้องมีถัง
น้ำมันเชื้อเพลิงมีขนาดความจุมากพอที่จะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
จ่ายโหลดเต็มพิกัดได้ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
2.2.6.5 Automatic Starter และ Transfer Switch รายละเอียดดังนี้
2.2.6.5.1 เมื่อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ ดับลงหรือไฟฟ้ามาไม่ครบทั้ง 3 เฟส หรือ
แรงดันไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ เฟสใดเฟสหนึ่งหรือทั้ง 3 เฟส มีค่าต่ำ
กว่า 80% หรือค่าตามที่กำหนด (สามารถปรับตั้งค่าได้) เป็นเวลา 3
วินาที (ปรับได้ตั้งแต่ 1-10 วินาที) เครื่องยนต์จะสตาร์ทเครื่องเองโดย
อัตโนมัติ
2.2.6.5.2 เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทเครื่องโดยอัตโนมัติตามข้อ 2.2.6.5.1 ในกรณีที่
เครื่องยนต์สตาร์ทครั้งแรกไม่ติด ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์จะสตาร์ท
เครื่องยนต์ใหม่ติดต่อกันอีกอย่างน้อย 3 ครั้ง หากเมื่อสตาร์ทครบ
แล้ว เครื่องยนต์ยังไม่ติด ระบบจะไม่สตาร์ทเครื่องยนต์อีกแต่จะมี
สัญญาณไฟแสดงที่แผงควบคุมที่ช่อง Over Crank หลังจากตรวจ
แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Reset Over Crank สัญญาณไฟจะดับ
ชุดสตาร์ทเครื่องยนต์อัตโนมัติจะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่
2.2.6.5.3 เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้ว เครื่องยนต์จะวิ่งตัวเปล่าจนกว่าระดับ
แรงดัน และความถี่ไฟฟ้ามีค่าตามพิกัด Transfer Switch จึงจะสับ
ไฟจ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
2.2.6.5.4 เมื่อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ มาตามปกติครบทั้ง 3 เฟส ภายใน 3 นาที
(โดยปกติตั้งไว้ที่ประมาณ 3-5 นาที) Transfer Switch จะทำหน้าที่
เปลี่ยนแปลงการจ่ายโหลดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน เป็น
การจ่ายโหลดจากการไฟฟ้าฯ แทนโดยอัตโนมัติ แต่เครื่องยนต์ยังคง
วิ่งตัวเปล่าต่อไปอีกประมาณ 5 นาที จึงจะดับเครื่องยนต์เอง ในกรณี
ที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ฯ เกิดดับลงไปอีกในขณะที่เครื่องยนต์กำลังวิ่ง
ตัวเปล่าอยู่ Transfer Switch จะกลับไปทำงานตามข้อ 2.2.6.5.3
ใหม่ทันที
2.2.6.5.5 ในสภาวะปกติ เครื่องยนต์จะต้องสามารถสตาร์ทอุ่นเครื่องได้โดย
อัตโนมัติทุก ๆ 7-10 วัน ครั้งละ 15-30 นาที (สามารถปรับตั้งได้)
ในช่วงระยะเวลาอุ่นเครื่องนี้จะไม่มีการจ่ายโหลดแต่อย่างใด เว้นแต่
ว่าช่วงระยะเวลาอุ่นเครื่อง ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ เกิดดับลง Transfer
Switch จะเริ่มทำงาน ตามข้อ 2.2.6.5.3 ทันที
2.2.6.6 Automatic Transfer Switch ให้ติดตั้งภายในตู้ไฟฟ้า หรือตามที่ระบุในแบบ เป็น
ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน IEC มีขนาดพิกัดกระแสไม่น้อยกว่าที่ระบุในแบบ ประกอบ
สำเร็จและผ่านการทดสอบการใช้งานจากโรงงานผู้ผลิตมาแล้ว ทั้งนี้ต้องสามารถ
เปลี่ยน Mode การทำงานเป็นแบบ Manual Operation ได้ด้วย
ระบบจ่ายไฟต่อเนื่อง Uninterruptible Power Supply
1. ความต้องการทั่วไป
1.1 ผู้รับจ้างจะต้องจัดหา และติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (UPS) โดยเครื่องสำรองไฟฟ้าที่เสนอ
จะต้องเป็นแบบ True on-line Double Conversion ที่ใช้เทคโนโลยี IGBT ทั้ง Rectifier และ
Inverter ขนาดตามที่ระบุในแบบ มีระยะเวลาในการสำรองไฟฟ้าอย่างน้อย 10 นาทีที่ Full Load
1.2 เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (UPS) ที่เสนอต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานในกลุ่มประเทศยุโรป
หรืออเมริกาเท่านั้นและผู้เสนอราคาต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตหรือสาขาของผู้ผลิต
ภายในประเทศหรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิต โดยแนบเอกสารรับรองมาในวันยื่น
เอกสารประกวดราคาด้วย
1.3 ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องตามมาตรฐานการทดสอบเครื่องหลังจาก
นำมาติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
1.4 เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องจะต้องสามารถเชื่อมต่อแบบขนานกับเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องในอนาคต
โดยไม่มีปัญหาในการใช้งาน และควบคุมให้เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องใช้งาน และจ่ายไฟฟ้าได้พร้อม
กัน
1. ข้อกำหนดของอุปกรณ์
1.1 Rectifier เป็นแบบ IGBT ควบคุมการทำงานด้วยระบบ DSP (Digital Signal Processing) ที่ออกแบบ
มาเพื่อลด Input Harmonic และปรับปรุง Power Factor ด้าน input ที่สามารถจ่ายไฟกระแสตรง
DC ให้แก่ Inverter และ Battery ได้อย่างต่อเนื่อง
1.1.1 คุณสมบัติทางไฟฟ้า
Input Voltage: 380/400/415 Vac, 3 Phase + 10%
Input Frequency From 45 to 65 Hz
Input Power Factor: > 0.99
THDi at 100% Load: < 3%
1.2 Inverter เป็นแบบ IGBT สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่าที่กำหนดข้างต้น ที่ p.f. 0.9 inductive
ถึง 0.9 capacitive พร้อม Isolation Transformer ประกอบสำเร็จจากผู้ผลิต เพื่อป้องกันโหลดจาก
สัญญาณรบกวนระหว่างระบบ
1.2.1 คุณสมบัติทางไฟฟ้า
Output Voltage: 380/400/415Vac, 3 Phase + 1%
Output Frequency: 50/60 Hz. + 0.05%
THDu with Linear load: 2%
THDu with Non-linear load: 3%
Inverter Efficiency: > 93 % (100% load)
Overload capacity: 110% for 60 min, 125% for 10 min, 150%
for 1 min
Dynamic Variation: + 5%
1.3 เครื่องสำรองไฟฟ้าแต่ละชุดต้องมี Static Bypass Switch เพื่อที่จะโอนย้ายให้รับพลังงานจาก
กระแสไฟฟ้าในกรณีที่เครื่อง UPS เกิดปัญหาโดยปราศจากการขาดช่วง
1.3.1 คุณสมบัติทางไฟฟ้า
Voltage: 380/400/415Vac + 20%
Frequency: 50/60 Hz + 2%
Overload capacity: 110% for 60 min, 125% for 10 min, 150%
for 1 min
1.4 ระบบเครื่องสำรองไฟฟ้าจะต้องมี Maintenance Bypass switch เพื่อที่จะโอนย้ายโหลดให้รับ
พลังงานจากกระแสไฟฟ้าในกรณีที่ต้องการทำการซ่อมบำรุง
1.5 คุณสมบัติของเครื่อง
1.5.1 ประสิทธิภาพของเครื่อง: ไม่น้อยกว่า 93 % (ที่ load 50% ถึง 75%)
1.5.2 ระดับของเสียงรบกวน: ไม่เกิน 72 dBA
1.5.3 ระดับการป้องกัน: IP20 เป็นอย่างน้อย
1.6 แบตเตอรี่
1.6.1 แบตเตอรี่ที่นำเสนอจะต้องเป็นแบบ Maintenance Free Sealed Lead Acid ที่ออกแบบมา
ให้มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สำหรับสำรองไฟเป็น
ระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ข้างต้น
1.6.2 แบตเตอรี่ที่เสนอจะต้องผ่านมาตรฐาน BS, UL หรือ IEC
1.6.3 ผู้รับจ้างจะต้องแสดงรายการคำนวณแบตเตอรี่ โดยกำหนดให้ค่า End Voltage เท่ากับ 1.70
V/Cell
1.6.4 เครื่องสำรองไฟฟ้าที่เสนอจะต้องมีระบบ Battery Management เพื่อเป็นการถนอมอายุการ
ใช้งานแบตเตอรี่ให้ยาวนาน อย่างน้อยดังนี้
– สามารถปรับการรีชาร์จแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิ
– มีระบบ Battery Test ที่สามารถทดสอบอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้
1.7 ระบบความปลอดภัย
1.7.1 เครื่องสำรองไฟฟ้าที่เสนอจะต้องมีระบบ Back feed Protection เพื่อป้องกันอันตรายจาก
ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือผู้มีหน้าที่บำรุงรักษา จากกระแสไฟฟ้าไหลวนกลับจากด้าน
Output
1.7.2 อุปกรณ์ตัดต่อแบตเตอรี่ เพื่อป้องกันการ Overcharge หรือการลัดวงจรแก่แบตเตอรี่
1.8 อุปกรณ์ควบคุมและแสดงผล
1.8.1 เครื่องสำรองไฟฟ้าที่เสนอจะต้องมีส่วนแสดงผลที่เป็น LCD หรือ LED แบบ mimic เพื่อให้
ทราบถึงสถานะ การทำงานของเครื่อง
1.8.2 ต้องสามารถแสดงค่าต่างๆ ผ่านทางจอแสดงผลหน้าเครื่องได้อย่างน้อยดังนี้
– Input: Voltage, Frequency, Power
– Output: Voltage, Frequency, Power, Power Peak
– Battery: Voltage, Charge/discharge current, Remaining Backup time
– Bypass: Voltage, Frequency
– Internal Temperature
– ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องผ่าน Inverter, Bypass, Battery
1.8.3 เครื่องสำรองไฟฟ้าที่เสนอจะต้องมาสามารถรองรับการเชื่อมต่อผ่าน SNMP Protocol เพื่อ
เชื่อมต่อกับระบบควบคุมอาคาร (BAS) ได้
1.9 ระบบ Software Management ที่เสนอจะต้องรองรับกับระบบปฏิบัติการ (Operating System
Support) ต่างๆ อย่างน้อยดังนี้ Windows 2003, 7 , 8 หรือ Linux
1.10 ระบบ Software Management ที่เสนอจะต้องกำหนด Password Authorization ได้และสามารถ
แสดงสภาวะต่าง ๆ ของ เครื่องจ่ายไฟต่อเนื่อง ได้อย่างน้อยต่อไปนี้
1.10.1 สภาวะสัญญาณเข้าของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และความถี่
1.10.2 สภาวะสัญญาณออก ได้แก่ แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และความถี่, สถานะ On Battery,
สถานะ On Bypass, Fail, Overload
1.10.3 สามารถแสดง Alarm ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรูปของ Text หรือ Graphic (โดยการ
เปลี่ยนสีของรูป) และเก็บ Log ลงภายใน Hard Disk พร้อมวันและเวลาที่เกิดโดยอัตโนมัติ
และสามารถเรียกดูหรือพิมพ์ได้ในภายหลัง
1.10.4 สามารถแสดง Alarm ต่าง ๆ อย่างน้อยต่อไปนี้
– Fault (AC Power Supply, Internal UPS, Battery, etc)
– Operate on Battery
– Battery Low Voltage
– Manual Bypass
– Overload
1.10.5 สามารถแสดงสภาวะการทำงานและสภาวะต่างๆ ของ UPS ผ่าน Software และ Web
browser ได้
ระบบจ่ายไฟต่อเนื่องแบบจานหมุน Flywheel Uninterruptible Power Supply
1. ความต้องการทั่วไป
1.1 ผู้รับจ้างต้องติดตั้งระบบยูพีเอสแบบ SINGLE CONVERSION BATTERY FREE UNINTERRUPTIBLE
POWER SUPPLY SYSTEM (UPS) ควบคุมการทำงานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ผู้ผลิตต้องได้รับ
มาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งสามารถดำเนินการแก้ไขกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง พิกัด
กำลังของยูพีเอสมีขนาดพิกัดกำลังไม่ต่ำกว่า ตามที่ระบุในแบบ ที่ตัวประกอบกำลัง 0.9 (ล้าหลัง)
จำนวน 1 ระบบ พร้อมระบบสำรองไฟฟ้าแบบ Flywheel (ไม่ใช้แบตเตอรี่) ได้นานไม่น้อยกว่า
15 วินาที ที่ โหลดเต็มพิกัด ตามที่ระบุในแบบ ณ ทุกสภาวะ สำหรับระบบแรงดันไฟฟ้าขาเข้า 3
เฟส 3×380 โวลต์ 50 Hz และสำหรับระบบแรงดันไฟฟ้าขาออก 3 เฟส 3×380 โวลต์ 50 Hz
พร้อมระบบ NEUTRAL ที่สามารถรองรับโหลดเต็มพิกัดได้ นอกจากนี้ยูพีเอสที่เสนอจะต้องมี
ผลงานการติดตั้งให้กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสหกิจ หรือเอกชนในประเทศไทย ที่น่าเชื่อถือมาไม่
น้อยกว่า 1 ปี โดยให้แนบเอกสารแสดงผลงานการติดตั้งในยี่ห้อที่เสนอดังกล่าว เพื่อประกอบการ
พิจารณาก่อนดำเนินการติดตั้ง
1.2 ผู้เสนอราคาต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตหรือสาขาของผู้ผลิตภายในประเทศหรือตัวแทน
จำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิต โดยแนบเอกสารรับรองมาในวันยื่นเอกสารประกวดราคาด้วย
1.3 ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องแบบจานหมุนตามมาตรฐานการ
ทดสอบเครื่องหลังจากนำมาติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
1.4 เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่องแบบจานหมุนจะต้องสามารถเชื่อมต่อแบบขนานกับเครื่องสำรอง
ไฟฟ้าต่อเนื่องแบบจานหมุนในอนาคตโดยไม่มีปัญหาในการใช้งาน และควบคุมให้เครื่องสำรอง
ไฟฟ้าต่อเนื่องแบบจานหมุนใช้งาน และจ่ายไฟฟ้าได้พร้อมกัน
2. การทำงานของระบบยูพีเอส
2.1 สภาวะปกติ (Normal Mode) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ระบบยูพีเอสตามปกติ (จากระบบไฟฟ้า
หลักหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ระบบจะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยชุด
Flywheel จะสะสมพลังงานจลน์ เพื่อพร้อมที่จะจ่ายพลังงานให้กับระบบคอมพิวเตอร์กรณีไฟฟ้า
ดับ
2.2 สภาวะฉุกเฉิน (Emergency Mode) เมื่อระบบไฟฟ้าหลักขัดข้อง โหลดทั้งหมดต้องได้รับพลังงาน
ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ระบบ Flywheel โดยปราศจากการหยุดชะงัก โดยสามารถทำงานได้ตามเวลา
ที่กำหนดไว้ข้างต้น ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าหลักกลับมาสู่สภาวะปกติอีกครั้ง ส่วน Flywheel ต้อง
กลับมาอยู่ในสถานะชาร์จโดยอัตโนมัติ โดยใช้เวลาไม่เกิน 2.5 นาที
2.3 สภาวะลัดผ่าน (Bypass Mode) แบบอัตโนมัติ (Automatic Bypass) กรณีที่ยูพีเอสทำงานผิดปกติ
อันเนื่องจากการใช้งานในสภาวะเกินพิกัด , เกิดการลัดวงจรด้านขาออก หรือระบบยูพีเอสขัดข้อง
ต้องมีสวิตช์ลัดผ่านแบบอัตโนมัติ ที่สามารถทำหน้าที่โอนย้ายได้โดยไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก โดย
การเปลี่ยนตำแหน่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของการซิงโครไนซ์
3. การทำงานของระบบยูพีเอสข้อกำหนดทางด้านเทคนิค
3.1 คุณสมบัติด้านเข้า
1) Input voltage : 3 x 380 V +/- 10%
2) Input frequency : 50 Hz +/-10%
3) THDI : < 3% ที่พิกัด Linear Load หรือดีกว่า
3.2 คุณสมบัติด้านขาออก
1) Output voltage : 3 x 380 V +/- 1% สำหรับ +/- 10% input
voltage หรือ +/- 1% สำหรับ Flywheel mode
2) Rated frequency : 50 Hz +/- 0.2% (Free Running)
3) Voltage distortion : < 5% (Non linear load)
4) Transient : +/- 1% within 50 ms for 100% load step
5) Overload : 150% เป็นเวลา 2 นาที
6) มีประสิทธิภาพรวม : 98 % ที่โหลดพิกัดหรือดีกว่า
3.3 ส่วน Flywheel Energy Storage
1) พลังงานจากระบบยูพีเอสจะทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้า Flywheel Energy Storage เพื่อ
สำรองพลังงานในรูปพลังงานจลน์
2) ชุด Flywheel Energy Storage ประกอบด้วย Motor, Generator และ Flywheel
3) ระบบ Flywheel Energy Storage ต้องสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 15 วินาที ที่ 100%
LOAD (@ 0.9 P.F.)
3.4 ส่วนคอนเวอร์เตอร์
1) เป็น แ บ บ Bi-Directional Converter ทำ หน้าที่ Charged และ Discharged ชุด
Flywheel Energy Storage โดยชุด Bi-Directional Converter ทำงานแบบ PWM
2) ชุดคอนเวอร์เตอร์ ใช้เทคโนโลยี IGBT
3.5 การแสดงผล
1) แสดงผลแบบ LCD Display
2) สามารถเก็บประวัติการถูกรบกวน (Disturbance History) ได้
3) แสดงค่าวัดทางไฟฟ้าต่างๆที่จำเป็น อาทิเช่น Input และ Output Voltage, current
kVA &kW และค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นต่างๆ ต่อการใช้งาน
3.6 คุณสมบัติทั่วไป
1) มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compliance
: EMC)
2) อุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ (Operating Temperature) ได้ตั้งแต่ 0oC ถึง 40oC
3) ระดับความดังของอุปกรณ์ Flywheel และเครื่องจ่ายไฟฟ้าต่อเนื่อง ต้องไม่เกิน 70 เดซิ
เบลล์ ที่ระยะ 1 เมตร
ระบบต่อลงดิน Grounding System
1. ความต้องการทั่วไป
ผู้รับจ้างต้องออกแบบจัดหาวัสดุอุปกรณ์ แรงงาน และอื่นๆ มาทำการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าให้เสร็จ
สมบูรณ์
2. กฎข้อบังคับ
ระบบต่อลงดิน (Grounding System)ตามข้อกำหนดนี้ให้รวมถึงการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (System
Grounding) อุปกรณ์ไฟฟ้า (Equipment Grounding) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นโลหะอันอาจมีกระแสไฟฟ้า
เนื่องจากการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า เช่น ท่อร้อยสายไฟฟ้า รางวางสายไฟฟ้า ฯลฯ โดยการต่อลงดินนี้ ถ้ามิได้
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือตามกฎและมาตรฐานดังต่อไปนี้
– ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าฯ “หมวด 6 สายดินและการต่อ
ลงดิน”
– มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้า สำนักงานพลังงานแห่งชาติ “ISES, 24-1984 การต่อลง
ดิน”
– National Electrical Code (NEC) Article 250
– National Fire Protection Association NFPA No. 780
โดยวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนการติดตั้งให้เป็นตามกำหนดดังต่อไปนี้
1. หลักสายดินให้ใช้ Copper Bonded Steel Ground Rod ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 19
มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 3000 มิลลิเมตร เพื่อให้ได้ความต้านทานของการต่อลงดิน
(Grounding Resistance) ไม่เกิน 5 โอห์ม โดยการวัดด้วย Ground Meter
2. สายดินให้ใช้ตัวนำทองแดง ซึ่งขนาดของสายดินสำหรับระบบไฟฟ้า (System Grounding) เพื่อ
ต่อสายศูนย์ (Neutral) ด้านทุติยภูมิ (Secondary) ของหม้อแปลงไฟฟ้าลงดิน ขนาดของสายดิน
นี้ให้ขึ้นอยู่กับขนาดของสายเมนของระบบไฟฟ้านั้นตามตารางที่ 1 และสายดินสำหรับโครงโลหะ
รอบนอกของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ไม่ควรจะเป็นส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าไหล และเป็นส่วนที่อาจถูก
สัมผัสได้ ให้มีการต่อลงดินเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้น โดยขนาดของสายดินให้ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของอุปกรณ์ป้องกันสำหรับวงจรนั้น ๆ ตามตารางที่ 2
3. ห้ามใช้ท่อร้อยสายเป็นสายดิน เว้นแต่จะมีการใช้ท่อร้อยสายและอุปกรณ์ต่อท่อต่างๆ มีขั้วต่อสาย
ดินให้แน่ใจได้ว่าท่อร้อยสายนั้นมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าได้อย่างถาวร และได้รับการยินยอมจาก
ผู้ควบคุมงาน
4. การตรวจสอบให้กระทำตามความเห็นชอบของผู้ควบคุมงาน เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าระบบต่อลงดินมี
ความสมบูรณ์ และถูกต้องตามมาตรฐานที่อ้างอิง
5. การต่อสายดินเข้ากับหลักสายดิน (Ground Rod) รวมถึงการต่อสายดินในส่วนที่ฝังอยู่ในพื้นดิน
ให้ใช้วิธีเชื่อมติด (Exothermic Welding)
6. ถ้าสายไฟฟ้าไปตู้หรือแผงสวิทซ์เป็น NYY-GRD ให้ใช้เส้น Ground เป็นสายดิน ถ้าใช้สายชนิดอื่น
ให้ใช้สาย IEC01 (ถ้าขนาดต่ำกว่า 35 ตร.มม.) หรือสายทองแดงเปลือย (ถ้าขนาดตั้งแต่ 35 ตร.ม
ม.ขึ้นไป) เป็นสายดิน
7. การติดตั้งระบบการต่อลงดิน ให้ตอกขั้วดินอย่างน้อย 3 ต้น เป็นรูปสามเหลี่ยม ห่างกันอย่างน้อย
3,000 มม. แล้วใช้ตัวนำต่อเข้าด้วยกัน และฝังลึกไม่น้อยกว่า 500 มม. จากระดับพื้นดินต่อตัวนำ
จากหลักดินจำนวน 1 เส้น (โดยมีขนาดสายตามตารางที่ 1 และ 2 รายการประกอบแบบ)
ตารางที่ 1
ขนาดสายดินสำหรับต่อสายศูนย์ไปยังหลักสายดิน
ขนาดสายเมนตัวนำทองแดง
(ตารางมิลลิเมตร)
ขนาดสายดินตัวนำทองแดง
(ตารางมิลลิเมตร)
ไม่เกิน 35 10
เกิน 35 แต่ไม่เกิน 50 16
เกิน 50 แต่ไม่เกิน 95 25
เกิน 95 แต่ไม่เกิน 185 35
เกิน 185 แต่ไม่เกิน 300 50
เกิน 300 แต่ไม่เกิน 500 70
เกิน 500 95
ขนาดสายดินสำหรับต่อส่วนท่อหุ้มที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าลงดิน
พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแส
เกิน (แอมแปร์)
ขนาดสายดินตัวนำทองแดง
(ตารางมิลลิเมตร)
20 2.5
40 4
70 6
100 10
200 16
400 25
500 35
800 50
1000 70
1250 95
2000 120
2500 185
4000 240
6000 400
ระบบป้องกันฟ้าผ่า Lightning System
1. ความต้องการทั่วไป
ผู้รับจ้างต้องออกแบบจัดหาวัสดุอุปกรณ์ แรงงาน และอื่นๆ มาทำการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าให้เสร็จ
สมบูรณ์
2. กฎข้อบังคับ
วัสดุอุปกรณ์และการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าต้องเป็นไปตามกฎข้อบังคับของมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง
ต่อไปนี้
– ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
– NFPA No. 780 (Lightning Protection Code)
– BS 6651 – 1985 (Protection of Structures Against Lightning)
– วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
3. วัสดุและอุปกรณ์
อุปกรณ์ในระบบป้องกันฟ้าผ่า ประกอบด้วย
(1) ตัวล่อฟ้า (Air Terminal)
ตัวล่อฟ้า (Air Terminals) ตัวล่อฟ้าต้องทำด้วยทองแดง หรือเหล็กหุ้มทองแดงมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่
เล็กกว่า 15 มม. ยาวไม่น้อยกว่า 600 มม. ติดตั้งบริเวณ จอแสดงผลคณภาพสิ่งแวดล้อม ให้สามารถ
ป้องกันระบบฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี
(2) สายล่อฟ้า (Roof Conductors)
สายล่อฟ้า (Roof Conductors) สายล่อฟ้าต้องทำด้วยทองแดงขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เล็กกว่า 50 มม.2
ต่อเชื่อมกับตัวล่อฟ้าเป็นข่ายวงจร และต่อเชื่อมเข้ากับสายนำลงดิน ตามจุดที่ติดตั้งตัวล่อฟ้า
(3) สายนำลงดิน (Down Conductors)
สายนำลงดิน (Down Conductors) สายนำลงดิน ให้ใช้สายทองแดง สายทองแดงที่ใช้เป็นสายนำลง
ดิน ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 50 มม.2 ต่อเชื่อมเข้ากับสายล่อฟ้าและตัวนำล่อฟ้า และ
ติดตั้งแนบกับอาคารลงไปต่อกับขั้วดิน
(4) การต่อลงดิน (Grounding)
การต่อลงดิน (Grounding) การต่อลงดินให้ใช้สายนำลงดิน เชื่อมต่อเข้ากับ Ground System ของ
ระบบ Lightning System
4. ความต้านทานดิน (Grounding Resistance)
ความต้านทานดินของระบบป้องกันฟ้าผ่า ต้องวัดได้ไม่เกิน 5 โอห์ม ถ้าหากความต้านทานเกินให้ตอกหลักดิน
(Ground Rod) เพิ่มจนได้ค่าตามที่กำหนดให้
5. วิธีการต่อเชื่อม
การต่อเชื่อมทั้งหมดของระบบป้องกันฟ้าผ่าให้ใช้วิธี Exothermic Welding และ/หรือ ตามที่ วสท.กำหนด
สายไฟฟ้าแรงต่ำ Low Voltage Line
1. ความต้องการทั่วไป
สายไฟฟ้าแรงต่ำของอาคาร ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสายไฟฟ้า มอก. 11-2533
2. ขอบเขต
ผู้รับจ้างต้องจัดหาและติดตั้งสายไฟฟ้าแรงต่ำ ตามที่แสดงในแบบและระบุในข้อกำหนดนี้ทุกประการ
3. งานรื้อถอนและปรับปรุง
ผู้รับจ้างจะต้องรื้อถอนอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ที่จะก่อสร้างโครงการและบริเวณใกล้เคียงตามที่ระบุไว้ใน
แบบ และจะต้องได้รับการอนุญาตก่อนดำเนินการ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน และการปฏิบัติงาน
ของ กรมสรรพสามิต ซึ่งประกอบด้วยลักษณะงานดังต่อไปนี้
3.1 ทำการสำรวจ จำนวน/ชนิด/ขนาด ของไฟฟ้ารวมทั้งท่อร้อยสาย และอุปกรณ์ประกอบต่างๆแล้ว
แจ้งให้ กรมสรรพสามิต ทราบก่อนดำเนินการต่อไป
3.2 ทำการเสนอแบบก่อสร้าง การวางสาย ท่อร้อยสาย และอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมดตามแนวของไฟฟ้า
แนวใหม่ตามแบบพร้อมระบุจำนวน/ชนิด/ขนาดต่างๆให้ครบถ้วนตามจำนวน/ชนิด/ขนาด จาก
ของใหม่ตามที่กำหนดไว้ หรือดีกว่าเพื่ออนุมัติ
3.3 เมื่อพิจารณาเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการได้ ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการจัดหา ติดตั้ง และทำการ
ทดสอบอุปกรณ์ต่างๆให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะทำการต่อเชื่อมกับสายต่างๆชุดใหม่ในอาคาร
ก่อนเพื่อให้การติดต่อเชื่อมสายทำได้อย่างรวดเร็วไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ กรม
สรรพสามิต
3.4 ทำการทดสอบจนมั่นใจและได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงานแล้วจึงรื้อถอนอุปกรณ์ต่างๆที่
ไม่ได้ใช้งานออกได้
4. ความต้องการทางด้านเทคนิค
4.1 ระบบสีของสายไฟ ให้เป็นดังนี้
4.1.1 Phase A สีน้ำตาล
4.1.2 Phase B สีดำ
4.1.3 Phase C สีเทา
4.1.4 Neutral Bus สีฟ้า
4.1.5 Ground Bus สีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง
สายไฟที่ผลิตแต่เพียงสีเดียวให้ทาสีหรือพันเทปที่ปลายสายทั้ง 2 ข้าง ด้วยสีที่กำหนดให้ รวมทั้ง
ในที่ที่ทีการต่อสายและต่อเข้าขั้วของอุปกรณ์ไฟฟ้า
4.2 สายไฟฟ้าที่ร้อยในท่อใช้สายหุ้มฉนวนพีวีซี ทนแรงดันได้ 750 โวลท์ อุณหภูมิใช้งาน 70°C หรือ
ตามที่แสดงในแบบ
4.3 สายไฟฟ้าที่เดินลอยใช้สายหุ้มฉนวน 2 ชั้น (NYY) และเปลือกนอกพีวีซี แกนเดียวหรือหลายแกน
ทนแรงดันได้ 750 โวลท์ อุณหภูมิใช้งาน 70°C หรือตามที่แสดงในแบบ
4.4 สายไฟฟ้าที่ใช้ภายในดวงโคมใช้สายอ่อนหุ้มฉนวน ทนต่ออุณหภูมิสูงตาม NEC
4.5 รายละเอียดของสายไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งเป็นสายฉนวนพีวีซี พิกัดแรงดัน 750 โวลท์ และอุณหภูมิใช้
งาน 70°C
4.6 สายป้อนและสายวงจรย่อย ให้ใช้สายหุ้มฉนวนพีวีซีแกนเดียวทนแรงดดันได้ 750 โวลท์ อุณหภูมิ
ใช้งาน 70°C หรือตามที่แสดงในแบบ
4.7 สายใหญ่กว่า 6 ตารางมิลลิเมตรให้ใช้เป็นสายตีเกลียว (Stranded Wire)
4.8 สายภายนอกอาคารให้เดินร้อยในท่อ หรือฝังดินโดยตรง หรือตามที่แสดงไว้ในแบบ
4.9 สายไฟฟ้าสำหรับการเดินลอย (ถ้ามีระบุในแบบ)
4.9.1 ต้องเป็นชนิดตัวนำหุ้มฉนวน และมีเปลือกนอกเป็นพีวีซี หรือสายไฟฟ้าชนิดอื่นที่มี
คุณภาพทัดเทียมกัน
4.9.2 ตัวจับสายไฟฟ้า ต้องสามารถทนอุณหภูมิที่ใช้งานของสายไฟฟ้าและสามารถทนต่อ
สภาพบรรยากาศได้ดี
5. หมายเหตุ : ข้อกำหนดเพิ่มเติม
โดยเสาไฟฟ้าที่ใช้สำหรับระบบไฟฟ้าแรงต่ำให้ใช้เสาคอนกรีตความยาว 9 เมตร แต่หากใช้ร่วมกับ
ระบบสายแรงสูงให้ใช้เสาคอนกรีตความยาว 12 เมตร
สายไฟฟ้าชนิดทนไฟ (Fire Resistance Cable)
1. ความต้องการทั่วไป
ข้อกำหนดนี้ได้ระบุถึงการครอบคลุมการจัดหา และการติดตั้งใช้งานสำหรับสายไฟฟ้าชนิดทนไฟ (Low
Smoke, Zero Halogen, Fire Resistance Cable ) ตามที่ระบุในแบบและรายละเอียดนี้
2. มาตรฐาน
สายทนไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน IEC, BS หรือมาตรฐานอื่น แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าจ้างก่อน
3. คุณสมบัติด้านเทคนิค
4.5 สำหรับสายที่มีขนาดต่ำกว่า 6 ตารางมิลลิเมตร ตัวนำเป็นสายทองแดงเส้นเดี่ยว ส่วนสายที่มี
ขนาดตั้งแต่ 6 ตารางมิลลิเมตรขึ้นไปต้องเป็นสายทองแดงชนิดตีเกลียว (Standed wire)
4.6 ฉนวนประกอบด้วยเทปทนไฟ (Fire Resistance Tape) เช่น Mica Tape หรือวัสดุทนไฟอื่นพันหุ้ม
รอบตัวนำทองแดง และชั้นนอกจะหุ้มด้วยวัสดุประเภท Cross-Linked Polyethylene (XLPE)
ชนิดพิเศษ ในกรณีที่เป็นสายตัวนำหลานแกน (Multicore Cable) ช่องว่างระหว่างตัวนำแต่ละ
แกนจะต้องมี Filler เพื่อความแข็งแรงของสาย
4.7 เปลือกหุ้มสายภายนอก (Outer Sheath) เป็นวัสดุประเภท Polyolefine หรือวัสดุอิ่นที่มีคุณสมบัติ
เป็น Low Smoke, Zero Halogen
4.8 ในกรณีสายสำหรับระบบไฟฟ้ากำลังสายไฟฟ้าชนิดทนไฟจะต้องมี Rated Voltage 600/1,000V มี
Maximum Conductor Operating Temperature ที่ 90 °C สำหรับ Continuous Duty และ
250°C ภายใต้สภาวะ Short-Circuit
4.9 ในกรณีสายสำหรับระบบสื่อสาร สายไฟฟ้าชนิดทนไฟนี้จะต้องมี Rated Boltage 300/500V มี
Maximum Conductor Operating Temperature ที่ 90 °C สำหรับ Continuous Duty และ
250°C ภายใต้สภาวะ Short-Circuit
4.10 ไม่ทำให้เกิด Corrosive Gases ขณะเกิดเพลิงไหม้
ระบบป้องกันไฟกระโชก Surge Protection
1. คุณสมบัติทั่วไป
1.1. มาตรฐานการผลิตของอุปกรณ์ระบบป้องกันไฟกระโชก จะต้องผลิตตามมาตรฐาน มอก. (TIS.
Standard) หรือ IEC หรือ VDE หรือ IEEE
1.2. การดำเนินการติดตั้งให้เป็นไปตามกฎการเดินสาย และติดตั้งของการไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค, หรือ มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)
1.3. อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งต้องเป็นของใหม่ 100% ไม่เคยใช้งานมาก่อน
1.4. การติดตั้งชุดอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเสิร์จ ( SURGE PROTECTION DEVICE ) เป็นการติดตั้งแบบขนาน
ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการใช้กระแสไฟฟ้าในระบบ (Load), และไม่ก่อให้เกิดผลการลดทอนสัญญาณจน
เกิดการทำงานที่ผิดพลาดในระบบสื่อสารและระบบวัดและควบคุม
2. รายละเอียดทางเทคนิค
2.1 SPD 1 (Lightning Current Arrester : Class B)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันชั้นต้น ใช้ติดตั้งที่ Main Distribution Board (MDB) ชนิด Arc
quenching spark gap (Arrester Class I/B) อุปกรณ์ทำหน้าที่กำจัดกระแสฟ้าผ่า ( Lightning Current
) ซึ่งมีการออกแบบเพื่อให้สามารถทนและสามารถดับกระแสไหลตาม ( Line-follow Current ) ซึ่งเกิด
หลังจากการทำงานได้ โดยอุปกรณ์ มีรายละเอียดดังนี้
Lightning Current Arrester
รายละเอียดทางเทคนิค
Arrester Class I / B
Nominal Voltage Un 400 Vac / 50 Hz
Arrester Voltage Uc 440 Vac / 50 Hz
Lightning test current (10/350 ms) acc. to IEC 1024-1 50 kA per phase
Quenching Short Circuit at Un without backup fuse 50 kArms
Protection level ≤ 1.5 kV
Response time ≤ 100 ns
2.2 SPD 2
อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเสิร์จ (Surge Voltage Arrester) Class II/C สำหรับป้องกันแรงดันเสิร์จที่
หลงเหลือและป้องกันเสิร์จจาก Switching ตู้ Sub Distribution Board ลักษณะของอุปกรณ์ ทำจาก
Metal Oxide Varister ( MOV ) โดยอุปกรณ์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
– Base Element เป็นส่วนที่ใช้เป็นฐานเพื่อติดตั้งสายและเป็นฐานเพื่อติดตั้ง ชุด Plug Unit
และจะต้องมีการ Code อุปกรณ์เพื่อป้องกันการใส่ Plug Unit ที่เป็นระดับแรงดันอื่น
– Plug Unit เป็นส่วนที่ใช้เป็น Surge Voltage Arrester มีองค์ประกอบหลักเป็น MOV
และ/หรือ Spark Gap, ชุด Plug Unit จะต้องมี Indicator แสดงว่า อุปกรณ์ยังอยู่ใน
สภาพใช้การได้, กรณีที่ Plug Unit ไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ Indicator จะแสดงคำว่า ”
Defect” หรือ อื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า Plug Unit นั้น ไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้แล้ว ใน
ขณะเดียวกัน Arrester จะต้องตัดตัวเองออกจากระบบโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการลัดวงจร
รายละเอียดทางเทคนิค
Arrester Class II / C
Nominal Voltage Un 230 Vac
Arrester Rated Voltage Uc 275 Vac
Nominal discharge Surge Current In (8/20 μs) 20 kA per phase
Max discharge Surge Current Imax (8/20 μs) 40 kA per phase
Protection level (5 kA) L-N/L-PE/N-PE ≤1.35 kV /≤1.2 kV /≤150 V
Protection level with In L-N/L-PE/N-PE ≤1.4 kV /≤1.6 kV /≤0.4 kV
Response time ≤ 25 ns
รายการวัสดุอุปกรณ์
1. ความต้องการทั่วไป
1. รายละเอียดในหมวดนี้ ได้แจ้งถึงรายชื่อผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ วัสดุ-อุปกรณ์ที่ถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับ
ทั้งนี้คุณสมบัติของอุปกรณ์นั้นๆต้องไม่ขัดต่อรายละเอียดเฉพาะที่กำหนดไว้ ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่
ไม่ได้ปรากฏชื่อในรายการด้านล่างนี้ ให้ทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติ และให้คณะกรรมการตรวจการ
จ้างอนุมัติก่อนทำการจัดซื้อหรือติดตั้ง
2. รายการวัสดุอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า
2.1 High Voltage cable
BCC / Phelps dodge / Thai yazaki / CTW
2.2 MDB / EMDB
ASEFA / PMK / SMD / TIC / USMD / ABB / Q-power / PEC / LS
2.3 Panel Board / Load Center
ABB / Schneider / Siemens หรือเทียบเท่า
2.4 Low voltage circuit breaker
Merlin Gerin / ABB / Siemens / GE / Schneider / Eaton หรือเทียบเท่า
2.5 Contactor & Control relay
Mitsubishi / Siemens / Telemecanique / ABB หรือเทียบเท่า
2.6 Metering & associated equipment
Crompton / ABB / Schneider / Socomec หรือเทียบเท่า
2.7 Digital & Poer Logic metering
Crompton / ABB / Schneider / Socomec / BMR หรือเทียบเท่า
2.8 Current and Potential Transformer
Alce / Circutor / Lovato / Siemens หรือเทียบเท่า
2.9 Switch & outlet
Panasonic / Bticino / Clipsal / Legrand / Haco หรือเทียบเท่า
2.10 Luminare
Philips / Luso / Delight / Haco/ Light style / L&E หรือเทียบเท่า
2.11 Lamp
Philips / Sylvania / Osram หรือเทียบเท่า
2.12 Ballast
May & Christ / Schwabe / EYE / Philips / MK / Vosloh / GE หรือเทียบเท่า
2.13 Capacitor
National / ABB / Merlin Gerin / Schneider หรือเทียบเท่า
2.14 Emergency Light
Delight / L&E / Sunny / Max bright หรือเทียบเท่า
2.15 Conduit
TAS / RSI / Panasonic / Daiwa / Nippon / PAT หรือเทียบเท่า
2.16 Cable Tray and Wire way
TIC / ASEFA / UI หรือเทียบเท่า
2.17 Fire Resistance Cable
Radox / Pillary / Betaflam / Prysmian หรือเทียบเท่า
2.18 Power & Control cable
BCC / Phelps dodge / Thai yazaki / CTW / Hosiwell หรือเทียบเท่า
2.19 Low Voltage cable
BCC / Phelps dodge / Thai yazaki / CTW หรือเทียบเท่า
2.20 Network Cabling
Amp /Systimax / Belden / Panduit / Link หรือเทียบเท่า
2.21 BUSDUCT Main Feeder
Powerbar / GE / Schneider / PDI / LS หรือเทียบเท่า
2.22 BUSDUCT Server Room Distribution
PDI / Starline / Siemen
2.23 Telephone System
Mitel / Cisco / Avaya / Aastra / Uniden / Panasonic
2.24 Transformer
Ekarat / Chareon chai / Thaimaxwell/ QTC / LS
2.25 Generator
CAT / Cummins / FG Wilson / Himoinsa / MTU หรือเทียบเท่า
2.26 Building Automation System (BAS)
ABB / Honeywell / Siemens / Johnson Control / Andover หรือเทียบเท่า
2.27 Public Address
Bosch / TOA / Crown / Sony / Dynacord หรือเทียบเท่า
2.28 Surge Protection Device
Phonenix Contact / MCG / Eaton / FURSE หรือเทียบเท่า
2.29 CCTV System
GE / AXIS / Pelco / Interlogix / Bosch / Lenel / Panasonic / Johnson Control ห รือ
เทียบเท่า
2.30 Grounding System
Kumwell / UI / Pigman หรือเทียบเท่า
2.31 Fire Barrier
3M / GE / Nelson / Hilti หรือเทียบเท่า
2.32 Access Control System
GE / Suprema / Tanabutr / HID / Bosch / Lenel / Johnson Control หรือเทียบเท่า
2.33 Environmental Monitoring System
Telealarm / Picobox / Sky control / ABB หรือเทียบเท่า
2.34 Uninterruptible Power Supply System
Riello / AEG / Blueline / MGE
2.35 Flywheel Uninterruptible Power Supply
Active Power / Riello / CAT
3. รายการวัสดุอุปกรณ์ระบบเครื่องกล
3.1 Precision air conditioning
Stulz / APC / Denco
3.2 Variable Refirigerant Flow System
Daikin / Mitsubishi / Hitachi / Samsung / Toshiba Carrier / Metis / Midea หรือเทียบเท่า
3.3 Split Type Air conditioning
Daikin / Mitsubishi / Hitachi / Samsung / Trane / Carrier / York หรือเทียบเท่า
3.4 PVC pipe & Acc
Thai Pipe / D-Pipe / Bangkok Paiboon Pipe / Cement Thai Pipe หรือเทียบเท่า
3.5 Closed cell Foamed Elastomer Insulation
Aeroflex / Armaflex / Rubaflex / Thermaflex หรือเทียบเท่า
3.6 Fiberglass Insulation
Micro-fiber / Siam Fiber Glass / Vinsulator หรือเทียบเท่า
3.7 Fire Barrier System
3M / Wormald / Hilti / Dow Corning หรือเทียบเท่า
3.8 Copper Tubing & Acc
Nibco / BMI / Cambridge / KLM / Mueller / Kembla / Cambridge-Lee หรือเทียบเท่า
3.9 Ventilation Fans
National / Kruger / Nicrotra / Panasonic หรือเทียบเท่า
3.10 Galvanize Steel Sheet
Thai Galvanized Steel / Singha / Ecoduct หรือเทียบเท่า
3.11 Flexible Duct work
Aeroduct / Dragon Flex / Duct Excel หรือเทียบเท่า
3.12 Air Filter
American Air Filter / Farr / Air Guard หรือเทียบเท่า
3.13 Fire Damper
Green Heck / Ruskin / Pottoroff / Komfort Flow / Stream Air หรือเทียบเท่า
3.14 Supply Air Grill
Komfort Flow / AS&D / Escoflow / Flothru / Aerogrill หรือเทียบเท่า
3.15 Lift
Hitachi / Kone / Otis / Mitsubishi / Sigma หรือเทียบเท่า
4. รายการวัสดุอุปกรณ์ระบบสุขาภิบาล
4.1 Water Mist System
HIFOG / TYCO / RGwfog
4.2 Fire Suppression System FK-5-1-12 (Novec1230)
Kidde / Chemetron / Janus / 3M / Imperial
4.3 Fire Pump
Grundfos / SPP / AC-Fire Pump / Peerless หรือเทียบเท่า
4.4 Jockkey Pump
Grundfos / SPP / AC-Fire Pump / Peerless หรือเทียบเท่า
4.5 Booster Pump Set
Grundfos / Ebara / Calpeda / STAC / Mitsubishi / Euroflow หรือเทียบเท่า
4.6 Transfer Pump Set
Grundfos / Ebara / Calpeda / Mitsubishi / Euroflow หรือเทียบเท่า
4.7 Fire Alarm System
Nortifier / GE / Johnson Control / Janus หรือเทียบเท่า
4.8 O.S. & Y Gate Valve, NRS Gate Valve, Butterfly Valve
Nibco / Victaulic / AVK / Stockham / Kennedy หรือเทียบเท่า
4.9 Check Valve
Nibco / Victaulic / Honeywell / Stockham / Kennedy หรือเทียบเท่า
4.10 Pressure Relief Valve, Reducing Valve
Muesco / Cla-Val / OCV หรือเทียบเท่า
4.11 Singer
Bermad/ Watts หรือเทียบเท่า
4.12 Flow Meter
Victaulic / Eagle Eye-Annubar / Meriam Instrument หรือเทียบเท่า
4.13 Strainer
ITT-Hoffman / Apco / Valtec / Metralfex / Victaulic หรือเทียบเท่า
4.14 Pressure Gauge
Weiss / Victaulic / Jumo / Wika หรือเทียบเท่า
4.15 Hose Valve
Powhatan / Potter Roemer / Giacomini หรือเทียบเท่า
4.16 Sprinkler Head, Alarm Valve, Deluge and Preaction System
Victaulic / Angus / Viking / Minimax / Central หรือเทียบเท่า
4.17 Supervisory Switch
Potter Electric / Victaulic / Viking / Nibco / ITT McDonald หรือเทียบเท่า
4.18 Flow Switch
Potter Electric / Viking / Victaulic / Nibco / ITT McDonald หรือเทียบเท่า
4.19 Mechanical Coupling
Victaulic / Anvil / Viking / Virotec หรือเทียบเท่า
4.20 Black Steel Pipe Sch. 40 ERW (ASTM A53 Grade B)
NKK / Nippon Steel / Sumitomo / Thai Steel Pipe / Siam Steel Pipe / United Steel
Pipe / Samchai หรือเทียบเท่า
4.21 Galvanized Steel Pipe Class B
Thai Steel Pipe / Siam Steel Pipe / Thai Union Steel Pipe / Pacific Pipe / Samchai
หรือเทียบเท่า
4.22 PVC Pipe
Thai Pipe / D-Pipe / Bangkok Paiboon Pipe / Cement Thai Pipe หรือเทียบเท่า
4.23 HDPE Pipe
UHM / TPP / Thai Pipe / KWH หรือเทียบเท่า
4.24 PPR Pipe
Thai PPR / Green Pipe / UHM / SCG หรือเทียบเท่า
4.25 Wet Type Alarm Valve & Fire Protection Valve
Victaulic / Anvil / Viking / Virotec / Nibco / Sapag หรือเทียบเท่า
4.26 Flexible Connection
Metralfex / Victaulic / Tozen หรือเทียบเท่า
4.27 Automatic Air Vent
Armstrong / Victaulic / Watt / Spirotech หรือเทียบเท่า
4.28 Presure Guage
Weiss / Wika / Victaulic หรือเทียบเท่า
4.29 Dry Chemical Portable Fire Extinguisher
Badger / Moyne / Guardian / Nippon / Fike / Kidde หรือเทียบเท่า
4.30 Water Leak Detection System
Watersense / TTK / Raychem หรือเทียบเท่า
4.31 High Sensitivity Smoke Detection System
Stratos / VESDA / Xtralis หรือเทียบเท่า
Discover more from Electrical Oops!
Subscribe to get the latest posts sent to your email.
Be the first to comment on "ความรู้พื้นฐาน ขอบเขตงานระบบไฟฟ้า (Electrical Basic Knowledge)"