Guard terminal ทำอะไรได้บ้าง?
ในระหว่างการทดสอบฉนวน ความต้านทานทางด้านนอกของวัสดุฉนวนมักจะถูกละเลย
อย่างไรก็ตาม เส้นทางวงจรความต้านทานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดและสามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ได้อย่างมาก
ตัวอย่าง เช่น ถ้ามีสิ่งสกปรกอยู่บนพื้นผิวด้านนอกของ Bushing กระแสรั่วไหลตามพื้นผิวอาจขึ้นไปถึง 10 เท่าของค่ากระแสที่ไหลผ่านฉนวนที่เกิดขึ้นจริง
กระแสรั่วไหลตามพื้นผิวจะเป็นวงจรตัวต้านทานที่ต่อแบบขนานกับความต้านทานฉนวนที่แท้จริงของวัสดุที่กำลังทดสอบ
โดยการใช้ Guard terminal เพื่อทำการทดสอบแบบ ‘three-terminal test’
การรั่วไหลของกระแสตามพื้นผิวอาจจะถูกละเลยได้ ค่าเหล่านี้อาจมีความสำคัญต่อการคาดการค่าความต้านทานสูงๆ
เช่น เมื่อตรวจสอบส่วนประกอบแรงดันสูงของ insulator bushing และ cable
กระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ไหลผ่านระหว่างการทดสอบความต้านทานฉนวนประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้
Charging current คือ กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการชาร์จประจุของวัตถุฉนวนในช่วงแรกๆ
Absorption current คือ กระแสที่ถูกดึงเข้าไปในฉนวนโดยผ่านขั้วของโมเลกุล จะทำให้ค่าเริ่มแรกมีค่าสูง แต่จะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป แต่มีอัตราที่ช้ากว่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการชาร์จ
Conduction or leakage current คือ กระแสการนำไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้ารั่ว เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก ที่อยู่ในช่วง steady state ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
- เส้นทางการนำไฟฟ้าทะลุผ่านฉนวนไฟฟ้า
- กระแสไหลผ่านพื้นผิวของฉนวนไฟฟ้า***
*** การรั่วซึมของกระแสไฟฟ้าตามพื้นผิวเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับการยกเว้นหากต้องใช้การวัดค่าความต้านทานฉนวนของวัสดุ สามารถทำได้โดยการใช้ terminal guard ที่มีอยู่ในตัวเครื่องทดสอบ HV
โดยทำการใช้ลวดพันรอบศูนย์กลางของ bushing และเชื่อมต่อกับขั้ว terminal guard ซึ่งตอนนี้การรั่วไหลของของกระแสไฟฟ้าตามผิวจะไหลไปยัง guard terminal
กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้า guard terminal จะไม่ถูกวัดค่าจากเคร่ื่องทดสอบ จะถูกละเลยการวัดค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า
ที่มา
https://us.megger.com
https:// electrical-engineering-portal.com
Data sheet – MIT525
Application-guide-5-kV-and-10-kV-insulation-testing Application-guide-Insulation-testing-above-1-kV Application-guide-Interfacing-with-PowerDB MIT_Leads_Table MIT515-MIT525-MIT1025-MIT1525_DS_US_V10